พฤติกรรมการแสวงหาและการใช้สารสนเทศของอาจารย์และนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย – แปซิฟิก
คำสำคัญ:
สารสนเทศ, การแสวงหาสารสนเทศ, การใช้สารสนเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ปัญหา วิธีการและรูปแบบของการแสวงหาและการใช้สารสนเทศของอาจารย์และนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย - แปซิฟิก โดยมีกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์จำนวน 24 คน และนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น จำนวน 353 คน ประจำปีการศึกษา 2553 โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐาน T-test, F-test และ Chi-squares
ผลการวิจัยโดยสรุปพบว่า มีการแสวงหาและการใช้สารสนเทศเพื่อการติดตามความรู้ความสนใจส่วนบุคคลมากที่สุด มีวิธีแสวงหาและใช้สารสนเทศโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคือ คอมพิวเตอร์มากที่สุด มีการสืบค้นบทความหรือวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการออนไลน์ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด คือ ไม่ตรงตามความต้องการแหล่งสารสนเทศไม่เพียงพอ เช่น รูปภาพ ซีดี-รอม วัสดุย่อส่วน เป็นต้น และผู้ใช้สารสนเทศขาดทักษะในการเลือกและประเมินสารสนเทศก่อนนำไปใช้ประโยชน์
References
กอบกุล สุวลักษณ์. (2547). ความต้องการและการใช้สารสนเทศของนักศึกษาในสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ญาณภา อินพรหม. (2551). พฤติกรรมการใช้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.(ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 3 มีนาคม 2554. จาก http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/
วัลลภ สวัสดิวัลลภ และคณะ. (2544). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม: โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ สถาบันราชภัฎนครปฐม.หน้า 21.
ศุภชัย อนุวัชพงศ์ และวรรณชนก จันทชุม. (2541). พฤติกรรมการแสวงหาและการใช้สารสนเทศ ของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อรอุมา สืบกระพัน. (2552). ความต้องการสารสนเทศและพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของ วิศวกรบริษัทแอด วานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สำนักงานปฏิบัติการส่วนภูมิภาคภาคเหนือ. เชียงใหม่ : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย (2547). การใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.
Breeding, M. (2008). Trends in library automation and digital libraries. [Electronic version]. Retrieved March 16, 2011.from http://dltj.org
Ellis, D. (1989).” A behavioral approach to information retrieval design”. Journal of Documentation. 45(3),171-122.
Ellis,D.,& Haugan, M.(1997). Modeling the information seeking patterns of engineering research scientists in a industrial environment. Journal of Documentation, 53(4),p.384-403.
Godbold, Natalya. (2006). “Beyond information seeking : towards a general model of information behavior”. [Electronic version]. IR Information Research.11,4 Retrieved March 24 from: http://informationr.net/
Nwagwu, Williams E. (2009). “Information needs and seeking behavior of nurses at the University College Hosptital Ibadan, Nigeria”. [Electronic version]. Afr.J.Lib,Arch & Inf.Sc. 19,1: p.25-38.
Online Computer Library Center. (2005). Perceptions of Libraries and Information Resources. [Electronic version] Retrieved March 16, 2010 from http://www.oclc.org/reports/2005perceptions.htm
Younger, Paula. (2010). “Internet-based information – seeking behavior amongst doctor and nurses : a short review of the literature.” [Electronic version]. Health Information and Librarian Journal. 27: p.2-10.
Wilson, T.D. (1999).” On user studies and information needs”. Journal of Document. 37(1),p.3-15.
Wilson, T.D. (2005).“Evolution in information behavior modeling: Wilson’s model”. In K.E. Fisher, S.Erdelez&L.McKechine (Eds.), Theories of information behavior. (p.32-33). Medford,N.J: Information today, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น