การเจรจาต่อรองด้านแรงงานในฐานะของกลไกการแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปรีชา วุฒิการณ์

คำสำคัญ:

สภาพการจ้าง, ข้อพิพาทแรงงาน, สภาวะพื้นฐาน, ข้อเรียกร้อง, กลวิธี, ความสงบในอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

การเจรจาต่อรองด้านแรงงาน เป็นกลไกในการระงับความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับสภาพการจ้าง ซึ่งส่งผลถึงความสงบในอุตสาหกรรม

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ของประเทศไทยได้กำหนดกรอบการเจรจาต่อรองด้านแรงงานไว้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างความสำเร็จสมบูรณ์ในการเจรจาต่อรองได้ เนื่องจากมีวิธีปฏิบัติบางประการของทั้งสองฝ่ายที่สร้างอุปสรรคที่นำไปสู่การไม่ตกลงกันได้ ซึ่งบทความนี้ได้นำเสนอแนวทางแก้ไขและป้องกันความขัดแย้งรุนแรง ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

นายจ้างและลูกจ้างจึงควรทำความเข้าใจและพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อเป็นการร่วมมือกันพัฒนาระบบการเจรจาต่อรองด้วยความจริงใจ เพื่อความเข้มแข็งของการแรงงานสัมพันธ์ที่ดีของประเทศและเพื่อความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

References

เกษมสันต์ วิลาวรรณ.(2545). กฎหมายแรงงานสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ:วิญญูชน.

แล ดิลกวิทยรัตน์.(2550).รวมบทความเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ. กรุงเทพฯ:ฟ้าเดียวกัน.

สมบูรณ์ ประเดิมภูสิตกุล.(2541).รายงานวิจัย ทัศนคติของพนักงานต่อโครงการความสามัคคีไปปฏิบัติ : กรุงเทพฯ กรณีศึกษา พนักงานบริษัท ซันโย ยูนิเวอร์แซล อีเลคทริค จำกัด (มหาชน).

สัก กอแสงเรือง. (2547).รวมกฎหมายแรงงาน.กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ.

สุพรรณ ศีตะจิต.(1994).เอกสารประกอบการบรรยายวิชา.เทคนิคการเจรจาต่อรอง. กรุงเทพฯ:บริษัท การจัดการธุรกิจ จำกัด.

สังศิต พิริยะรังสรรค์.(2546).แรงงานสัมพันธ์:ทฤษฎีและการปฏิบัติ” กรุงเทพฯ ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย โถสุวรรณจินดา.(2545).แรงงานสัมพันธ์:กุญแจแห่งความร่วมมือระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์นิติธรรม.

How to Manage Conflict : a quick and handy guide for any manager or business owner. 2nd ed. (1993) Hawthorne, NJ : CAREER PRESS.

Ministry of Labour and Social Welfare LAO PDR .(1999).Labour Law of Lao People’s Democratic Republic.

Steven R.Covey.(1989). The Seven Habits of Highly Effective People. Simon and Schuster NewYork U.S.A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-20