เนื้อหาและรูปแบบรายการวิทยุที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3 – 5 ปี)

ผู้แต่ง

  • เสาวณีย์ ฉัตรแก้ว คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

เนื้อหา, รูปแบบ, รายการวิทยุสำหรับเด็กปฐมวัย, พัฒนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มุ่งศึกษาเนื้อหาและรูปแบบรายการวิทยุที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาการของเด็ก ปฐมวัย (อายุ 3 – 5 ปี) โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุม แพทย์ / ครูอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย, ผู้ปกครอง ซึ่งมีบุตร หลานปฐมวัย และผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้ ผลการวิจัย พบว่า รายการวิทยุสำหรับเด็กปฐมวัย ควรมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยพัฒนาการในด้านสังคมได้รับความสำคัญมากที่สุด ซึ่งรายการวิทยุควรนำเสนอ เนื้อหาเกี่ยวกับ การแบ่งปัน มีวินัย ซื่อสัตย์ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และการรักษามารยาทไทย ส่วนการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ สติปัญญา และร่างกายนั้น รายการวิทยุสำหรับเด็กปฐมวัยควรนำเสนอเนื้อหา เกี่ยวกับการควบคุมตนเอง การใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ การส่งเสริมความรู้รอบตัว การส่งเสริมทักษะด้านภาษาและคณิตศาสตร์ การส่งเสริมการอ่าน การส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกาย และกล้ามเนื้อ และการให้คำปรึกษาแก่พ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็ก

ด้านรูปแบบรายการที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ควรมีการนำเสนอให้เกิดความหลากหลาย (Variety) ซึ่งประกอบด้วยนิทาน ซึ่งมีความยาวประมาณ 5 – 10 นาที / เรื่องมีการสอดแทรกคุณธรรม และคติสอนใจ มีตัวละครเอกที่เป็นตัวชูโรง เพื่อจูงใจให้เด็กติดตามรู้สึกผูกพัน และเป็นแบบอย่างให้ปฏิบัติตาม ช่วงท้ายของนิทานควรมีการสรุปคติสอนใจ หรืออาจเชิญชวนให้เด็กใช้ความคิดของตนเองถึง คุณธรรมที่ได้รับในนิทานก่อนที่จะเฉลย นอกเหนือจากนิทานแล้ว ควรมีการนำเสนอเพลง ซึ่งอาจมีเนื้อร้อง หรือเพลงบรรเลง โดยอาจสอดแทรกความรู้ ทักษะภาษา คณิตศาสตร์ หรือการให้คติสอนใจไว้ในเนื้อเพลง ควรเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามในประเด็นง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน มีเกมส์และการร่วมสนุกต่าง ๆ

References

กาญจนา แก้วเทพ, นันทกา สุธรรมประเสริฐ และเอกธิดา เสริมทอง. (2554). ผู้คนที่หลากหลายในการสื่อสาร : เด็ก สตรี และผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ประกาศ สำนักงาน กสทช. เรื่องผลการเลือกหมายเลขลำดับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2557, จาก http://www.nbtc.go.th/
มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางและมาตรการการใช้สื่อของรัฐเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนและครอบครัว. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2557, จาก http://www.eppo.go.th/
เสาวณีย์ ฉัตรแก้ว และคณะ. (2550). การสำรวจโครงการพัฒนารายการวิทยุเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
อุษา บิ้กกิ้นส์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเมาแล้วขับและการเปิดรับสื่อของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27 (82)
Bickham, David., Wright, John. & Huston, Aletha. (2001). Attention, Comprehension, and Educational Influences of Television, in Handbook of Children and the Media, Singer Dorothy & Singer Jerome. CA: Sage Publications.
Canton, Joanne. (2001). The Media and Children’s Fears, Anxieties, and Perceptions of Danger. In Handbook of Children and the Media, Singer, Dorothy and Singer, Jerome. CA: Sage Publications.
Dainton, Marianne & Zelley, Elaine D. (2005). Applying Communication Theory for Professional Life: A Practical Introduction. USA: Sage Publications.
Fisch, Shalom M. (2009). Educational Television and Interactive Media for Children: Effects on Academic Knowledge, Skills, and Attitudes. In Media Effects: Advances in Theory and Research, Bryant, Jennings & Oliver, Mary Beth. UK: Routledge.
Harris, Richard Jackson. (2004). A Cognitive Psychology of Mass Communication. USA : LEA’s communication series.
Hogan, Margorie J.. (2001). Parents and Others Adults. In Handbook of Children and the Media, Singer, Dorothy and Singer, Jerome. CA: Sage Publications.
Naigales, Letitia R. & Mayeux, Lara. (2001). Television as Incidental Language Teacher. In Handbook of Children and the Media, Singer, Dorothy and Singer, Jerome. CA: Sage Publications.
Strasburger, Victor C. & Wilson, Barbara J. (2002). Children, Adolescents, and the Media. USA: Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-21