ปัจจัยความสำเร็จของระบบสารสนเทศที่ส่งผลต่อคุณภาพสำนักงานบัญชี

ผู้แต่ง

  • สรวิชญ์ แหนไส วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

สำนักงานบัญชี, คุณภาพสำนักงานบัญชี, ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของระบบสารสนเทศที่ส่งผลต่อคุณภาพสำนักงานบัญชีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลสำนักงานบัญชี ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2562โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ทําการศึกษามี 4 กลุ่ม คือ 1. ผู้บริหาร 2. หัวหน้างาน 3. พนักงานประจำ 4. พนักงานรายวันที่ปฏิบัติงานในสํานักงานบัญชี ประเทศไทย จำนวน 210 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพในการทำงาน และประสบการณ์ในการทำงาน และสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหูคูณ (Multiple Regression Analysis)

ผลการศึกษาพบว่าสำนักงานบัญชีที่ส่วนใหญ่มีนักบัญชีปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชีนั้นจะให้ความสำคัญต่อการมีข้อมูลอันมีคุณภาพโดยให้ความสำคัญ ต่อการมีหลักฐานอันเที่ยงธรรมและความมีอยู่จริง ความถูกต้อง ความครบถ้วน และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ของข้อมูลทางบัญชีที่นำมาจัดทำงบการเงินนั้น จนนำไปสู่ความเป็นนักบัญชีที่ปฏิบัติงานบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพตาม จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2547)

นอกจากนี้ปัจจัยด้านให้บริการต่อลูกค้าหรือผู้รับบริการก็เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ โดยจะต้องให้ความสำคัญกับการมีไมตรีจิตในการบริการ และคำนึงถึงผู้รับบริการโดยลูกค้าสามารถเข้าถึงการบริการด้วยความสะดวกและสม่ำเสมอ พร้อมด้วยการให้ความสำคัญกับการบริการที่มีความปลอดภัย ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของสำนักงานบัญชีหรืออาจสรุปได้ว่าการข้อมูลที่มีความถูกต้อง และการบริการที่มีมาตรฐานจะสามารถพัฒนาเป็นสำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพต่อไป

References

กาญจนา นันทพันธ์. (2555). ความคิดเห็นของผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่ต่อหลักเกณฑ์การรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (การค้นคว้าอิสระ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กุลนิษฐ์ พิพิธพงศานนท์. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบของความพร้อมในการเป็นนักวิชาชีพบัญชีในมุมมองของสถานประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กระทรวงพาณิชย์. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). แนวทางการให้บริการด้านการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย. สืบค้น 14 มกราคม 2563, จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469403169

กระทรวงพาณิชย์. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2547). พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. สืบค้น 14 มกราคม 2563, จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=1103

นุกูล แดงภูมี. (2553, พฤษภาคม-สิงหาคม). รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถการให้บริการของสำนักงานบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. สืบค้น 18 สิงหาคม 2562, จาก http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/500

พจนีย์ สุวรรณโพธิ์. (2561). องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการให้บริการที่มีคุณภาพของสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วันทนีย์ มงคลทรัพย์กุล, อัญณิชา ดิษฐานนท์, อรพรรณ คงมาลัย, และจันจิรา นพคุณธรรมชาติ. (2559, มกราคม-มีนาคม). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ:กรณีศึกษาการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี), 39(1), 3-9.

วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2545). คุณภาพในงานบริการ = Quality in Services. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ศรุต จิตตัดคานนท์, ไกรชิต สุตะเมือง, และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจในการเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีของ ผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ), 8(2), 1-17.

ศิรินาถ นิรมิตวรรธนะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการจัดการความรู้ขององค์กรเอกชน (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คำชี้แจงข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ 19) เรื่อง จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2553. สืบค้น 18 มีนาคม 2562, จาก http://www.tfac.or.th/upload/9414/OzmzikNLfQ.pdf

เมทินี จันทร์กระแจะ. (2558). ศึกษาคุณภาพของระบบสารสนเทศและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เพ็ญธิดา พงษ์ธานี. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ไพบูลย์ เกียรติโกมล, และทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2545). คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2563, จาก https://sites.google.com/site/mis5930122113001/3-2-nature information

แสงระวี อยู่ทอง. (2556). รูปแบบและปัญหาในการให้บริการของ สำนักงานบัญชีในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

DeLone, & McLean. (2016). Information systems success model. University of Colorado.

Laudon, & Laudon. (1996), Turban, et al. (2020). Evaluating the Success of the Enterprise Application System at a Financial Institution in Belize. Success of Fusion Banking System.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-21