บทบาทใหม่ของ CSR เพื่อตอบสนองความคุ้มค่าองค์กรธุรกิจในบริบทไทย
คำสำคัญ:
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร, สังคมยุคโลกาภิวัฒน์, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคม, องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO 26000)บทคัดย่อ
ความท้าทายของการดำเนินงานองค์กรธุรกิจระดับโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ทุกวันนี้ไม่ได้ขึ้นกับเรื่องของราคาและคุณภาพผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องมุุ่งให้ความสำคัญและคาดหวังต่อบทบาทการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร จะสามารถตอบแทนสังคมจากผลกำไรที่ได้รับเช่นไร โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วที่นำแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรมาใช้ในการบริหารจัดการและการดำเนินงาน โดยวัตถุประสงค์การศึกษาคือ องค์กรเล็งเห็นถึงประโยชน์ด้านความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและความคุ้มค่าเชิงสังคมที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทสังคมปัจจุบันอย่างไร และองค์กรธุรกิจไทยต้องปรับตัวเพื่อนำแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของ องค์กรมาใช้ในการบริหารจัดการให้สอดคล้องตามทิศทางขององค์กรมาตรฐานโลกเช่นไร โดยเฉพาะการรองรับตามมาตรฐาน ISO 26000 ซึ่งแนวโน้มในอนาคตคือ องค์กรธุรกิจไทยต้องเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับกระบวนการสื่อสารยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เป็นตัวเร่ง นอกจากการดำเนินนโยบายบริหารจัดการองค์กรตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมอาจไม่เพียงพอในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจไทยจำเป็นต้องแสวงหาช่องทางการพัฒนา ไปสู่การเติบโตสีเขียวหรือการมุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียว ถือเป็นประเด็นท้าทายสำหรับองค์กรธุรกิจและประเทศไทยในอนาคต
References
กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์. (2554). การศึกษาประสิทธิผลกลยุทธ์ภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เพ็ญนภา ดีชัยยะ. (2552). ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจในฐานะบรรทัดฐานทางสังคมในบริบทโลภาภิวัฒน์ กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ (2543). วิกฤติการณ์แห่งการพัฒนาวิถีใหม่แห่งการพัฒนาวิธีวิทยาศึกษาสังคมไทย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรทัย ราวินิจ. (2549). ประสิทธิผลของการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมในการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันไทยพัฒน์. (2552). รู้จักซีเอสอาร์. กรุงเทพฯ :มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
Alvin Thoffler (1991). The Third Wave. New York : Bantum Books.
Anthony Giddens (1988).Social Theory Today : Standford University Press
Chapple & Moon (2005). Corporate social responsibility in Asia : A seven country study of CSR website reporting.
Journal of International Business Ethics 3(1), 55 – 62.
Marshall Mcluhan (1964). Understanding Media . NewYork : McGraw-Hill.
Martin Samy, Godwin Odemilin & Roberta Bampton (2010). A Strategy for sustainable business success. An analysis of 20 selected British companies. Journal of Corporate Governance. 10(2), 203 -217.
Mehdi Kazemi & Sadaf Estendsi (2011). Investigation of the corporate social responsibility (CSR)dimensions in private financial institute case study: Two Iranian private banks. Journal of Contemporary Research in business 3(2), 80-92.
Kraisorn Suthasinee & Fredric William Swievcreck (2009). Interpretation of CSR in Thai company. Social Responsibility Journal 5(1), 550-565.
Philipp Schreck (2011). Review the business case for corporate social responsibility : New evidence and analysis. Journal of International business Ethics 10(1), 167 – 188.
Ravi Kiran & Anupam Sharma (2011). Corporate social responsibility: A corporate strategy for new business opportunitie. Journal of International Business Ethics 10(3), 10 - 24.
Sharon C. Bolton, Rebecca Chung-hee Kim & Kevin D. O Gorman (2011). Corporate social responsibility as a dynamic Internal organizational process : A case study. Journal of International business Ethics 10 (3), 61-74.
Stefan Tengblad & Claes Ohlsson (2010). The framing of corporate Social responsibility and The globalization of national business system : A oongitudinal case study. Journal of International business Ethics 9(1), 653 -669.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น