รูปแบบการจัดการโปรแกรมภาษาญี่ปุ่นระดับอุดมศึกษาเพื่อธุรกิจนำเที่ยว

ผู้แต่ง

  • สมพร โกมารทัต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ภาษาญี่ปุ่น, การจัดการโปรแกรม, ธุรกิจนำเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจนำเที่ยวที่พึงประสงค์ตามทัศนะของผู้ใช้บัณฑิต ศึกษาสาระการจัดการโปรแกรม ภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจนำเที่ยวและพัฒนารูปแบบการจัดการโปรแกรมภาษาญี่ปุ่นระดับอุดมศึกษาเพื่อธุรกิจนำเที่ยว ตัวอย่างที่ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้ผลิตบัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตและผู้ทรงคุณวุฒิ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้ข้อมูลคุณลักษณะบัณฑิตภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจนำเที่ยวที่พึงประสงค์ และสาระการจัดการโปรแกรมภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจนำเที่ยว 2) การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อสร้างเป็นรูปแบบการจัดการ โปรแกรมภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจนำเที่ยว 3) การประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อตรวจสอบประเมิน ปรับปรุงและรับรองรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะบัณฑิต ภาษาญี่ปุ่นเพื่อธรุกิจนำเที่ยวที่พึงประสงค์เรียงลำดับตามความสำคัญ ได้แก่ ด้านความรู้ และทักษะวิชาชีพเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยว ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบด้านทักษะทางปัญญา ด้านบุคลิกภาพ ด้านการวางแผน การจัดการ และการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพและด้านทักษะการ วิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สาระการจัดการโปรแกรมภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจนำเที่ยว พบว่าปรัชญาของการจัดการโปรแกรมเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ คุณธรรมและความสามารถในการใช้ภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจนำเที่ยวที่สนองความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ จุดมุ่งหมายของการจัดการโปรแกรมคือมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ คุณธรรมจริยธรรม ความสามารถหรือศักยภาพในการใช้ภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจนำเที่ยว เข้าใจมารยาทและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม การจัดหลักสูตรของโปรแกรมเน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ การแก้ปัญหา การฝึกปฏิบัติ การจัดบุคลากรสอนเน้นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนของโปรแกรมเน้นการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความเหมาะสมและประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ การจัดกิจการนักศึกษาของโปรแกรม เน้นกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้ครบทุกด้าน การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกของโปรแกรม เน้นความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความน่าสนใจ การกำกับติดตาม/ประเมิน ผลโปรแกรมเน้นการดำเนินการตามกระบวนการทุกขั้นตอน ผลการพัฒนาได้รูปแบบการจัดการโปรแกรมภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจนำเที่ยวชื่อว่า “ KEP to S&C Model: The Japanese Language Program Management for Tourism Business” หรือ “รูปแบบการจัดการโปรแกรมภาษาญี่ปุ่นระดับอุดมศึกษา ที่เน้นการพัฒนาความรู้ คุณธรรมและศักยภาพ เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะและสมรรถนะนักธุรกิจนำเที่ยว”

References

กรรณิกา พิริยะจินดา. (2547). กิจการนักศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2551). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้น 12 กันยายน 2553, จาก http//thai tourismthailand.org.th

คณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2552). ปรัชญาการอุดมศึกษาไทย.กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบาย และแผนการอุดมศึกษา.

คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ,สำนักงาน.(2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2559.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ทิศนา แขมมณี. (2545).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2551). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปทีป เมธาคุณวุฒิ. (2544).หลักสูตรอุดมศึกษา : การประเมินและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: นิชินแอคเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ฟ.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อส่งเสริม.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และสมสุข ธีระพิจิตร. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย : จากการวิจัยสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2546). กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2552). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพพรรณ เกียรติโชติชัย. (2545).กระบวนทัศน์ใหม่แห่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:การศึกษา.

นิศา ชัชกุล. (2551). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2541). ระบบการกำกับ ติดตาม ประเมินผลนโยบายและแผน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2549). การติดตามประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาด้านการบริหารและการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา.กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: เอส ดี เพรส.

Bloom .B.S. (1956). Toxonomy of Educational Objectives. NewYork: David Mckay.

Blake and others. (1981). Academic Administrator Grid. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.

Joyce, Bruce. and Weil, Masha. (1996). Models of Teaching. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Saylor, Galen.,William M. Alexander. (1981). Curriculum for Better Teaching and Learning. New York: Holt Rinehart and Winston.

Sergiovanni, Thomas and others. (1992). Education Governance and Administration. Massachusetts: A Division of Simon and schutter.

Paisey, Aian. (1992). Organization & Management in Schools (2nd ed). London: Longman.

Ramsden, P. (2003). Learning to teach in Higher Education. London: Routledge Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-07