การนำเสนอนโยบายการส่งเสริมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
คำสำคัญ:
กระบวนการนโยบาย, การส่งเสริมการวิจัย, สถาบันอุดมศึกษาเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอนโยบายการส่งเสริมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยวิธีการศึกษาแบบผสานวิธีโดยศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเอกชนสี่แห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบประเมินสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการส่งเสริมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีความสำคัญต่อการปฏิบัติภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย และสามารถสร้างผลงานวิจัยที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ ทั้งนี้ ควรใช้กระบวนการนโยบายเป็นตัวแบบในการดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วยห้าขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การระบุปัญหา การกำหนดนโยบาย การตัดสินนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย ส่วนประเด็นนโยบายส่งเสริมการวิจัยที่สำคัญได้แก่ การส่งเสริมบุคลากรวิจัยให้มีศักยภาพเพื่อสร้างผลงานวิจัย การจัดสรรงบประมาณ ที่เหมาะสมและจูงใจนักวิจัย การจัดการทรัพยากรวิจัยที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำวิจัย การบริหารจัดการงานวิจัยที่ส่งผลต่อการสร้างบรรยากาศทางวิชาการทั้งในด้านองค์กรวิจัยที่ดี การจัดกิจกรรมวิจัยที่สร้างสรรค์ การติดตามและประเมินผลการวิจัยที่มุ่งสู่คุณภาพการสร้างเครือข่ายการวิจัยที่กว้างขวาง ตลอดจนการเผยแพร่และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการเรียนการสอน และการให้บริการสังคมในระดับชาติและนานาชาติ
References
จรัส สุวรรณเวลา และ คณะ. 2534. บนเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. 2549.เอกสารสรุปการเสวนา เรื่อง สอนดีต้องมีวิจัย 15 ธันวาคม 2549 ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ .
ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์.2546. การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ:ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.
ทบวงมหาวิทยาลัย. 2544. เหลียวหลังแลหน้าการอุดมศึกษาไทย : รวมบทสัมภาษณ์นักการศึกษาและนักการเมือง จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 29 ปีของการก่อตั้งทบวงมหาวิทยาลัย
ทวีป ศิริรัศมี.2545.การวางแผนพัฒนาและการประเมินโครงการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ธีระ นุชเปี่ยม และวีรวัลย์ งามสันติสุข. 2550. อดีตและปัจจุบันของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทย.ภาพรวมสถาบันอุดมศึกษาประเภทต่างๆ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัย นโยบายและแผนอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ประชุม รอดประเสริฐ. 2543. นโยบายและการวางแผน: หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์
ผดุงชาติ สุวรรณวงศ์ และ ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2542. ทิศทางการปฏิรูปอุดมศึกษาจากผลการประชุมระดับโลก. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการสู่เส้นทางการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ครั้ง 4 เรื่อง ศตวรรษใหม่อุดมศึกษาไทย: บทเรียนจากการปฏิรูปอุดมศึกษานานาประเทศ.กรุงเทพมหานคร.
พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ. 2545. กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2546. อุดมศึกษาไทยในอุดมศึกษาโลก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนา ศานติยานนท์. 2544. “การปฏิรูประบบการวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา”. อนุสารอุดมศึกษา ปีที่ 27 ฉบับที่ 279 กันยายน 2544
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. 2539. อุดมศึกษา.กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาอุดมศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. 2540.การบริหารงานวิจัย แนวคิดจากประสบการณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดวงกมล.
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. 2551. วิธีการเชิงระบบ. (อัดสำเนา) ภาควิชาการศึกษา สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศิโรจน์ ผลพันธิน .2549 . รูปแบบการบริหารงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา. รายงานการวิจัย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2550. นโยบายสาธารณะ: แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) . 2549. จุลสารประชาคมประกันคุณภาพการศึกษา ฉบับพิเศษ 2. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2548. มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพมหานคร:หจก.สหายบล็อกและการพิมพ์.
สิปปนนท์ เกตุทัต. 2537. การวิจัยในอนาคต: สร้างสรรค์ปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศ. ข่าวสารการวิจัยทางการศึกษา ปีที่18 ฉบับที่ 1 ตุลาคม – พฤศจิกายา 2537.
อมร รักษาสัตย์. 2522. “การพัฒนานโยบาย”. เอกสารการศึกษารัฐประศาสนศาตร์ ฉบับที่ 27 คณะรัฐประศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อุทัย บุญประเสริฐ, 2543. โครงการเอกสารทางวิชาการบริหารการศึกษา เรื่อง นโยบายและการพัฒนานโยบาย.ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Duun, William N. 1994. Public Policy Analysis an Introduction. (2nd. ed) . New Jersey: Prentice-Hall. Inc. A Simon & Schuster Company.
Dye, Thomas R. 1984. Understanding Public Policy. 5th.ed. Englewood Cliffs, New Jerswy: Prentice–Hall, Inc.
Glueck, William F. 1977. Management. Hinsdale: The Dryden Press.
Jeffrey Mark, Litwin. 2008. The efficacy of strategy in the competition for research funding in higher education. www.http: //proquest.umi.com (online) .16 May 2009.
Kerr, Clark. 1982. The Uses of the University. 3rd ed. Cambridge: Harvard University Press.
Lasswell, Harold D.1977. A Pre-view of Policy Sciences. New York:American Elsevier
Terry, G. R. 1977. Principles of Managements. 7 th ed. Hoomewood: Irwin.
UNESCO. 1998. Consolidated Declarations and Plans of Action the Regional Conferences on Higher Education Held in Havana. Tokyo; Palermo and Beirut. Retained Lessons.
Weimer, David L. and Aidan R. Vining. 1989. Policy Analysis: Concepts and Practice. New Jersey: Prentice-Hall. Inc. A division of Simon & Schuster.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น