รูปแบบการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • นันทพล วิทยานนท์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา(ภาคพิเศษ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

รูปแบบ, สันติสุข, ภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดความสุขของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำเสนอรูปแบบการจัดการการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการวิจัยแบบผสม (Mix Method) ใช้วิธีเก็บข้อมูลทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ผู้วิจัยใช้วิธีวิเคราะห์เอกสารการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การสอบถามกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส โดยมีขั้นตอนการวิจัยคือ กำหนด กรอบแนวคิดในการวิจัย ศึกษาตัวชี้วัดความสุขร่างรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ

ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดความสุขของประชาชน ประกอบด้วย 10 มิติ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ครอบครัว สุขภาพ การศึกษา สังคม การสนับสนุนทางสังคม การมีงานทำและมีรายได้ สิทธิและความเป็นธรรม ความมั่นคงส่วนบุคคล รวมถึงการเมืองและธรรมาภิบาล รูปแบบที่ได้จากการวิจัยมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับตัวชี้วัดความสุขประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐาน หลักการ เป้าหมายการจัดการศึกษา วัตถุประสงค์ ลักษณะสำคัญองค์ประกอบของรูปแบบแนวทางการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การบริหารทั่วไปตลอดจนเงื่อนไขความสำเร็จ

References

กิติมา ปรีดีดิลก. 2532. การบริหารและการนิเทศศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: อักษรการพิมพ์.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. 2548. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษาและพัฒนามาตรฐาน และตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมวิชาการ. 2538. เอกสารทางวิชาการชุดปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียน โดยปัจจัยองค์รวม เรื่องแนวทางบริหารโรงเรียนปฏิรูป. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ธงชัย สันติวงษ์. 2539. การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. 2529. หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์กรุงเทพ.

___________. 2534. หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

ประเสริฐ เชษฐพันธ์. 2542. การบริหารการศึกษา. ภาควิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. 2542. แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับ2) พ.ศ. 2545 มาตรา 4.

อุทัย บุญประเสริฐ. 2545. หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: เอสดีเพรส.

อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา. 2549. ปรัชญาการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและชุมชน....อุดมการณ์และขีดจำกัด.

______________. online: http://www.southwatch.org/document/SW005.pdf

Bush, Tony. 1995. Theories of educational management. London : A Sage Publishing Company.

Kowalski, Theodore J. 2003. Contemporary School Administration: An Introduction. 2nd ed. Boston: Allyn and Becon.

Likert, Rensis. 1967. “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.

Lunenburg, F.C and Ornstine, A.C. 2000. Education Administration : Concept and Practices.(3rd edition). Belmont : Wadsworth/Thomson Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-07