ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง : มุมมองของผู้สอนและการนำผลไปใช้

ผู้แต่ง

  • รสสุคนธ์ เสวตเวชากุล สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัญฑิตย์

คำสำคัญ:

มุมมองของผู้สอน, ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง, การเรียนภาษาอังกฤษ, บทบาทของผู้สอน

บทคัดย่อ

แวดวงการศึกษาด้านการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน เน้นการให้ความสำคัญต่อผู้เรียนและการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนเป็น ดังนั้นผู้สอนจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบมุมมองของผู้สอนที่มีต่อความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา ซึ่งมุมมองดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของผู้สอนในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนรูปแบบงานวิจัยคือ การวิจัยเชิงการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลกับอาจารย์จำนวน 155 คน ในมหาวิทยาลัยเอกชน 5 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ด้านคือความสำคัญของความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความรับผิดชอบของผู้สอน ความมั่นใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาไทย และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาไทย คะแนนจากแบบสอบถามแบบ 5 ระดับ (Likert Scale) ถูกนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย (M) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) จากผลการวิจัยพบว่า โดยเฉลี่ยผู้สอนมีมุมมองที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในระดับสูง (M = 3.53, SD = 0.33) นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละด้านแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยด้านความสำคัญของความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับสูงมาก (M = 4.46, SD = 0.45) ค่าเฉลี่ยด้านความรับผิดชอบของผู้สอนอยู่ในระดับสูง (M = 3.78, SD = 0.45) ค่าเฉลี่ยด้านความมั่นใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาไทยอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.83, SD = 0.81) และค่าเฉลี่ยด้านความความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาไทยอยู่ในระดับปานกลาง (M 3.14, SD = 0.56) บทความนำเสนอการอภิปรายผลไปพร้อมกับการนำผลการวิจัยไปใช้ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ

References

Benson, P. (2001). Teaching and researching autonomy in language learning. London: Longman.

Breen, M. and Mann, S. (1997). Shooting arrows at the sum: perspectives on a pedagogy for autonomy. In P. Benson & P. Voller (Eds.), Autonomy & Independence in Language Learning. London: Longman, 132-149.

Chan, V. (2003). Autonomous language learning: teachers’ perspectives. Teaching in Higher Education. 8: 33-54.

Cotterall, S. (1995). Readiness for autonomy: investigating learner beliefs. System. 23 (2): 195-205.

Dam, L. (2003). Developing learner autonomy: the teacher’s responsibility. In D. Little, J. Ridley, and E. Ushioda (Eds.), Learner Autonomy in the Foreign Language Classroom. Authentik, 135-146.

Dornyei, Z. (2001). Motivational strategies in the language classroom. Cambridge: Cambridge University Press.

Hofstede, G. (1986). Cultural differences in teaching and learning. International Journal of Intercultural Relations. 10: 301-320.

Johnson. J., Pardesi, H. and Paine, C. (1990). Autonomy in our primary school. In I. Gathercole (Ed.), Autonomy in Language Learning. London: CILT, 46-54.

Little, D. (1990). Autonomy in language learning. In I. Gathercole (Ed.), Autonomy in Language Learning. London, CILT: 7-15.

Little, D. (1995). Learning as dialogue: the dependence of learner autonomy on teacher. System. 23 (2): 175-181.

Shaw, J. (2008). Teachers working together: What do we talk about when we talk about autonomy? In T. Lamb & H. Reinders (Eds.), Learner and Teacher Autonomy. Amsterdam/Philadelphia: John Benjamins Publishing Company, 187-204.

Swatevacharkul, R. (2010). Are Tertiary Students Ready for Learner Autonomy? Suthiparithat. 74: 39-60.

Ushioda, E. (1996). Learner autonomy 5: The role of motivation. Dublin: Authentik. Waterhouse, P. (1990). Supported self-study across the curriculum. In I. Gathercole (Ed.), Autonomy in Language Learning. London: CILT, 4-6.

Wenden, A. (1987). Conceptual background and utility. In A. Wenden & J. Rubin (Eds.), Learner Strategies in Language Learning. Hertfordhire: Prentice Hall International, 3-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-10