คุณลักษณะพึงประสงค์ของครูตามความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

คุณลักษณะพึงประสงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและจัดอันดับความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อคุณลักษณะพึงประสงค์ของครูโดยรวมและรายด้าน 5 ด้านคือ ด้านวิชาการ ด้านทักษะและเทคนิคการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านบุคลิกภาพและความเป็นผู้นำและด้านคุณธรรมของครู และ 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อคุณลักษณะพึงประสงค์ของครูระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่มีเพศ ระดับชั้นปีที่ศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างสุ่มที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาคณะบัญชีชั้นปีที่ 1 – 4 หลักสูตรปกติ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 300 คน และอาจารย์ 18 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงรายด้านระหว่าง 0.83 ถึง 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ ที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อคุณลักษณะพึงประสงค์ของครูของนักศึกษาและอาจารย์คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ผลการจัดอันดับคุณลักษณะพึงประสงค์ของครูตามความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์รายด้าน 5 อันดับแรกเรียงจากมากไปน้อยคือ ด้านคุณธรรมของครู ด้านบุคลิกภาพและความเป็นผู้นำ ด้านวิชาการ ด้านการวัดและประเมินผลและด้านทักษะและเทคนิคการสอน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงกว่า 4.00 และ 2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม นักศึกษาที่มีเพศ ระดับชั้นปีที่ศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันโดยนักศึกษา ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อคุณลักษณะพึงประสงค์ของครู โดยรวมและรายด้านทุกด้านสูงกว่านักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2554). ครูบัญชีอาสา: ผู้นำบัญชีขจัดความยากจน. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2554, จาก http://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/cadweb_org/ewt_news.php?nid=11100

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติกร ไทยใหญ่. (2553). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครู. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2554, จาก http://www.bcbat.ac.th/research/Computer/Kittikorn.pdf

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548. (2548, 5 กันยายน). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2554, จาก www.edurmu.org/new/document/51.pdf

คุรุสภา, สำนักงาน. (2554). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2554, จาก http://www.ksp.or.th/ksp2009/th/home/index.php

จุฑารัตน์ จันทร์คำ. (2545). ความต้องการการพัฒนาสมรรถภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาในโรงเรียนพระหฤทัย อำเภอเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ชานนท์ เสาเกลียว. (2552). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูธุรกิจ ตามทัศนะของนักศึกษาประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนไทยบริหารธุรกิจและพณิชยการ กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ผลสำรวจครูสอนดีแบบไหนได้ใจเด็ก สะท้อนภาพแม่พิมพ์ที่ไม่เลือกปฏิบัติไม่โมโหร้าย. (2554, 13 พฤษภาคม). บ้านเมือง, 13.

พระเทพฯ ทรงแนะคุณธรรมจริยธรรมสร้างสังคมแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2549, 5 ตุลาคม). สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2554, จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9490000124553

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2553). คุณธรรมนำความรู้ ขับเคลื่อนการศึกษาแก้วิกฤติชาติ. สืบค้น เมื่อ 10 ตุลาคม 2554, จาก http://social.obec.go.th/node/33

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2554, จาก http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล. (2545, เมษายน-มิถุนายน). การศึกษาคุณลักษณะครูพึงประสงค์ของนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 25(2), 149-165. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2554, จาก http://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/kmuttv25n2_4.pdf

วันทนีย์ อัมระนันท์. (2551). การวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การศึกษาคุณลักษณะครูที่พึงประสงค์ตามทัศนะของนักเรียนชั้นชฟ.3/31-32. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2554, จาก http://www.utt.ac.th/elearning/rm/rs-sm-h5.pdf

สถานศึกษาไม่ผ่านประเมินฯสมศ.รอบ 2โวยคุณภาพครูต่ำ. (2552, 19 มีนาคม). เว็บไซต์คมชัดลึก. จาก NEWSCenter Database

สุคนธา ทองบริสุทธิ์. (2553). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ในความคิดเห็นของนิสิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สามลดา.

Farlex. (2012). The free dictionary. Retrieved October 9, 2011, from http://www.thefreedictionary.com/teacher

Riney, M., Thomas, C., Williams, G., & Kelley, B. (2006). The no child left behind legislation and “highly qualified” teachers: An important but only partial solution for educational reform. National Forum of Applied Educational Research Journal, 20(3), 1-8.

Teachers First. (2005). The importance of teachers. Retrieved October 9, 2011, from http://www.teachersfirst.nl/Teaching/TheImportanceofTeachers/tabid/236/Default.aspx

Wright, S. P., Horn, S. P., & Sanders, W. L. (1997). Teacher and classroom context effects on student achievement: Implications for teacher evaluation. Journal of Personnel Evaluation in Education, 11(1), 57-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-10