ศึกษาองค์ประกอบในการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
องค์ประกอบการบริหารจัดการสถานศึกษา, การบริหารแบบมีส่วนร่วม, คุณภาพผู้เรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน คือ (1) วิเคราะห์ สังเคราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่าน เพื่อกำหนดองค์ประกอบในการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียน (2) สร้างตัวบ่งชี้หรือตัวแปรย่อยขององค์ประกอบในการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียนแต่ละด้านแล้วนำไปวิจัยเชิงสำรวจตรวจสอบ (Exploratory) ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้องค์ประกอบ นรูปแบบสอบถามประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับกับผู้ทรงคุณวุฒิ 60 ท่าน และ(3) ตรวจสอบยืนยัน (Confirmatory) ความเหมาะสมขององค์ประกอบในการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียนกับตัวอย่าง 360 โรงเรียน โดยกำหนด องค์ประกอบในการบริหารจัดการสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ โรงเรียนฝ่ายวิชาการ/ครูที่เป็นหัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบในการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ การพัฒนาบุคลากร การสร้างทีมงาน การวิเคราะห์และประเมินองค์กร การวางแผนกลยุทธ์ การประกัน คุณภาพ และการนิเทศการศึกษาตัวบ่งชี้หรือตัวแปรย่อยขององค์ประกอบในการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานทั้ง 8 องค์ประกอบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณค่าสัมประสิทธิ์ (Standardized Coefficient) เพื่อศึกษาน้ำหนักขององค์ประกอบตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ปฏิบัตการในสถานศึกษา พบว่า การบริหารจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียนขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทั้ง 8 ด้าน สอดคล้องกัน
References
กนกอร ยศไพบูลย์. (2544). “การพัฒนาองค์การสู่การมีประสิทธิผล.” เอกสารประกอบการสอนวิชาพัฒนาองค์การ. ขอนแก่น : ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ และคณะ. (2548). รายงานการวิจัยการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 – 2547 (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : กลุ่มพัฒนานโยบายการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาและการท่องเที่ยว. สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
นริศ สวัสดี. (2550). “การวิเคราะห์พหุระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา.” ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
พสุ เตชะรินทร์. (2549). “ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กรชั้นเลิศ.” (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http:www.vrhris.com/Klc/Article/HR/Manager/KSF_Excllent%200rg.htm. (3 มิถุนายน 2549)
รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
เรณู คุปตัษเฐียร. (2552). “ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา.” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://ora.kku.ac.th/Res_kku/AbstractView.asp?Qid=1135755958 (30 มีนาคม 2552)
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2552). “รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน”. (O–Net). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://niets.or.tw. (24 เมษายน 2552)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ 2552 สำหรับส่วนราชการระดับกรม. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2549). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ผลสะท้อนจากการประเมินคุณภาพภายนอก รอบแรก (พ.ศ. 2544 – 2548). กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานพิเศษ รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2549 – 2550 พบปัญหาหลายด้านที่ต้องแก้ไข วารสารการศึกษาไทย ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 มีนาคม 2551.
สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์. (2549). “การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร.
อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2549). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสารสนเทศสำหรับสังคมไทย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำรุง จันทวานิช. (2547). แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ.สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Campbell, J.P. (1977). On the nature of organization effectiveness. In New perspective on Organization effectiveness. San Francisco; Jossey–Bass
Healy, M. (1994). BSW 5750 and beyond in a secondary school : A change for the best. In C. Parsons (ed). Quality improvement in education. pp. 68 – 69. London David Fulton.
Reynolds D., Bert P.M., Greemers P.S., Nesselrodt E.C., Schaffer S.S., and Charles T. (1994). Advance in school effectiveness research and practice. Oxford: Elsevier Science.
Steers R.M. (1977). Organization effectiveness : A behavioral view. Santa Monica California : Good year.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น