รูปแบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ต้องลักษณ์ จิรวัชรากร สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • นิพนธ์ ศุขปรีดี ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต
  • สังวรณ์ งัดกระโท ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, การบริหารสถานศึกษา, สถานศึกษาขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานสถานศึกษา สภาพการจัดระบบสารสนเทศของสถานศึกษา ความต้องการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และออกแบบรูปแบบระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร วิธีการดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามจากสถานศึกษาขนาดเล็ก 131 แห่ง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับรูปแบบระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับสถานศึกษากับผู้เชี่ยวชาญ และการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้จากผู้ทรงคุณวุฒิโดยวิธีอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (connoisseurship model) และผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 29 ท่าน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาการบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานครที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน งานวิชาการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด

2. สภาพระบบสารสนเทศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการวิจัยพบว่า ความต้องการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัด กรุงเทพมหานครที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านงานวิชาการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด

3. รูปแบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีการบริหารจัดการตามทฤษฎีระบบที่มีปัจจัยนำเข้า ได้แก่ คณะทำงาน ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ฐานข้อมูลและงบประมาณ มีกระบวนการดำเนินงานสถานศึกษาสามารถเลือกดำเนินการทั้ง 4 ระบบงานหรือเลือกดำเนินการบางระบบก่อนผลผลิตและผลลัพธ์สถานศึกษามีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารงานด้านต่างๆ และมีข้อมูลสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ระบบและผลย้อนกลับ ข้อมูลย้อนกลับสำหรับสถานสถานศึกษา คณะทำงานงานส่วนต่างๆและผู้บริหาร ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ ร้อยละ 98.81 เห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ไปจริง

References

กระทรวงศึกษาธิการ . 2546. คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เกริกไกร แก้วล้วน. 2550. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ครรชิต มาลัยวงศ์ และคณะ. รายงานสำรวจสถานภาพและความพร้อมในการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2549.

ชนิตา รักษ์พลเมืองและคณะ. 2548. รายงานการวิจัย สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทร์และไพบูลย์ เกียรติโกมล. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

ธีระ ลาภิศชยางกูร. 2549. “การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการจัดการด้านงานอาคารของสถานศึกษา” วารสารการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พฤษภาคม-สิงหาคม 2549)

นิศา ชูโต .2548. การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นต์โพร จำกัด.

นิตยา ภัสสรศิริ. รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน . สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2546

ปทีป เมธาคุณวุฒิ. เทคโนโลยีสารสนเทศการบริหารสถาบันการศึกษา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ประพันธ์สุริหาร, 2544.

ประสิทธิ ทีฆพุฒิ และคณะ. 2549. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ดอกหญ้ากรุ๊ป.

เมธาวี เลิศรัตนา. 2549. ทฤษฎีไร้ระเบียบ. กรุงเทพฯ : โครงการสรรพสาส์นสำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก.

สมยศ นาวีการ. 2544. การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .

สุเพชร จิรขจรกุล. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการใช้โปรแกรม AreGIS destop เวอร์ชั่น 9.1 .นนทบุรี : บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง,2549.

ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงค์กุลและคณะ. 2549. ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

วรกาญจน์ สุขสดเขียว. 2550. รูปแบบภาษีเพื่อการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Hoy& MisKel. Educational administration : theory, research, and practice. Boston : Mcraw-Hill. ,2001.

Bertalanffy,V.L. General system theory. New York : George Braziller, 1968.

Borrough,P.A. Principle of Geograhic Information Systems for Land Resources Assessent .London: Oxford University,1986.

Campbell,R.F., Cobally, J.B. and Samseeyer,J.A. Introduction to Education Administration. 3rded. Boston : Allyn and Bacon.,1969.

Cassidy,.T.J.Data for decisions in Development Education System : Analysis of a Computer - Based Education Management Information System in the area Republic of Egypt. Dissertion Abstracts International. ,1992.

Drucker,P. The coming of the New Organization. Harvard Bussiness Review (Jan-Feb) :45-53.,1993.

Loudon, K.C.& Laudon, J. P.. Management Information System 5 ed . Prectice-Hall,2002.

Montgomery, G.&Schuch,H. GIS Data Conversion and book. Fort Collins,.CO : GIS World. ,1993.

Pickles,J. In Grand Truth:The Social Implicational of Geograhic Information Systems. New York,1995.

Rodrigues,M.D. Application of geographic information systems in school administration: A teaching case of school redistricting Ed.D.Columbia Unversity Teachers College. ,1995.

Senn,J.A. Information System in Mangement .Belment : Wedworth Publishing Co, 1990.

Star,J.and Estes,J.E. Geographic Information Systems : An Introduction. Upper Saddle River : Prentice – Hall.,1990.

Stair,R. M. and Reynolds.. Principles of Information Systems: A Managerial Approach. Cam -bridge : course technology, 1994

O’Brien,J.A .Informtion System:Essentials for the Internetworked Enterprise (Irwin McGraw- Hill, 2000.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-10