การเลือกใช้บริการธนาคารกสิกรไทยผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
คำสำคัญ:
ลักษณะประชากรศาสตร์, ส่วนประสมทางการตลาด, บริการธนาคารกสิกรไทยผ่านทางโทรศัพท์มือถือบทคัดย่อ
การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารกสิกรไทยผ่านทางโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้บริการธนาคารผ่านทาง โทรศัพท์มือถือของธนาคารกสิกรไทย ทั้งหมด 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-30 ปี สำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท และประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านอายุและรายได้แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ธนาคารกสิกรไทยทางโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน ส่วนลักษณะประชากรศาสตร์ด้านเพศ ระดับการศึกษาและอาชีพแตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารกสิกรไทยทางโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ผลการทดสอบสมมติฐานยังพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารกสิกรไทยทางโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัย ด้านลักษณะทางกายภาพ (β = 0.237) รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านสถานที่จัดจำหน่าย (β = 0.208) ปัจจัยด้านบุคคล (β = 0.205) และปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ (β = 0.123) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยประสมทางการตลาดบริการที่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารกสิกรไทยทางโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด
References
ทิพย์สุดา หมื่นหาญ. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารผ่านอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการค้นคว้าแบบอิสระเชิงวิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิพสิริ ทิพย์พรหม. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการค้นคว้าแบบอิสระเชิงวิทยานิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนาคารกสิกรไทย. (2553). “บริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือของธนาคารกสิกรไทย (KMobile Banking)”. สืบค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553, จาก http://www.kasikornbank.com/kmobilebanking/Documents/index.html.
พรทิพย์ สัมปัตตะวนิชย์. (2529). เอกสารสอนชุดวิชาพฤติกรรมผู้บริโภค หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: วิสิทธิ์พัฒนา.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2553). “ศูนย์กสิกรไทย คาดปี 53 ตลาดบริการเสริมมือถือโตต่อเนื่อง”. สืบค้นวันที่ 10 ตุลาคม 2553 จาก, http://www.newsplus.co.th/NewsDetail.php?id=2947.
สำนักคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2553). “รายงานดัชนีชี้วัดในกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2552”. สืบค้นวันที่ 10 ตุลาคม 2553, จาก http://www.positioningmag.com/prnews/PRNews.aspx?id=84908.
สุดาพร กุณฑลบุตร. (2549). หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิสา สุรังสิมันต์กุล . (2551). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด [มหาชน] ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2545). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภิวรรณ ลาภวรารักษ์. (2549). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ K-mAlert ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดสมุทรสาคร. รายงานการค้นคว้าแบบอิสระเชิงวิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อาจ วิเชียรเจริญ. (2553). “ทำธุรกรรมการเงินผ่านมือถือผ่านบริการ K-Mobile Banking”. สืบค้นวันที่ 31 ตุลาคม 2553, จาก http://www.moneychannel.co.th/Menu6/ SmartMoney/tabid/111/newsid571/123618/Default.
Nunnally, J.C. (1978). Psychometric Theory (2 nd ed.). New York: McGrew-Hill.
Positioningmag. (2553). “ความเป็นมาของ Mobile Banking”. สืบค้นวันที่ 31 ตุลาคม 2553, จาก http://www.positioningmag .com/Magazine/Details.aspx?id=73513#ixzz10p1Evd2j.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (2 nd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น