ความสอดคล้องระหว่างการเรียนการสอนการสื่อสารการตลาดในระดับอุดมศึกษากับการดำเนินงานในภาคธุรกิจ

ผู้แต่ง

  • ดุษฎี นิลดำ สาขาวิชาการโฆษณา ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การศึกษาการสื่อสารการตลาด, ความต้องการของตลาดแรงงาน, บริษัทตัวแทนการโฆษณา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสอดคล้องของการเรียนการสอนการสื่อสารการตลาดของภาคอุดมศึกษากับการดำเนินงานของภาคธุรกิจ และ (2) ศึกษาความสอดคล้องของคุณสมบัติของนักศึกษาที่ศึกษาสาขาการสื่อสารการตลาด/ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจากภาคการศึกษาและภาคธุรกิจโดยเลือกตัวแทนจากผู้บริหารภาคอุดมศึกษาที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านสาขาการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน/สาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน ขณะที่ตัวแทนภาคธุรกิจคือ ผู้บริหารบริษัทตัวแทน การโฆษณาจากต่างประเทศและบริษัทตัวแทนการโฆษณาภายในประเทศ จำนวน 3 ท่าน รวมถึงนายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย

ผลการศึกษาพบส่วนที่มีความสอดคล้องกัน ได้แก่ (1) ทุกมหาวิทยาลัยเห็นพ้องกันในเรื่องของการพัฒนาทักษะให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญการใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย (2) คุณสมบัติของนักศึกษาที่ภาควิชาการและภาควิชาชีพต้องการคือ นักศึกษาที่มีความรู้เรื่องทักษะภาษา, การตลาดและธุรกิจ รวมถึงมีความคิดเชิงมโนทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์และทัศนคติที่ดีในงาน ที่รับผิดชอบ ขณะที่ส่วนที่ไม่สอดคล้องได้แก่ นิยามของการสื่อสารการตลาด, หลักสูตร การศึกษา ตั้งแต่ชื่อหลักสูตร เนื้อหาวิชาเรียน จุดเน้นที่แต่ละสถาบันฯมีจุดเด่น – จุดด้อยที่แตกต่างกัน รวมถึงเรื่องของการสร้างองค์ความรู้และการพัฒนาผลงานวิจัยของ บุคลากรผู้สอนก็มีการให้ความสำคัญแตกต่างกันไป นอกจากนี้ ยังพบว่างานวิจัยวิชาการที่ได้รับการกล่าวถึงในวงกว้างส่วนใหญ่เป็นงานที่เปิดเผยด้านลบของการสื่อสารการตลาด และปัจจัยหลักที่บริษัทตัวแทนการโฆษณาในประเทศไทยนำการสื่อสารการตลาดมาใช้ เพื่อการเข้าถึงผู้รับสารอย่างมีประสิทธิผล โดยไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการตัดลดงบประมาณด้านการตลาดแต่อย่างใด

References

กรกช อนันตสมบูรณ์. (2543). หลักสูตรการศึกษาด้านการโฆษณาระดับปริญญาตรี กับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิ่งกาญจน์ ภัทรธรรมมาศ. (2547). พัฒนาการและอนาคตของแนวคิดและการใช้การสื่อสาร-การตลาดแบบผสมผสานในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิมา จันทรสูตร. (2547) หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการโฆษณากับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สราวุธ อนันตชาติ.(2545). บทนำ : สถานภาพการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในประเทศไทย. ในสราวุธ อนันตชาติ (บก.), วารสารนิเทศศาสตร์ (หน้า 1-4). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anantachart, S. (2001). To integrate or not to integrate : Exploring how Thai marketers perceive integrated marketing communications. Paper presented at the Special 2001 American Academy of Advertising Asia-Pacific Conference, Kisarazu, Japan.

Anantachart, S. (2003). In The Eyes of The Beholder : A Comparison of Thai Marketers’ and Advertising Practitioners’ perceptions on Integrated Marketing Communications. In Rose, Patricia, B., & R. L. King (Eds.),

The Proceedings of the 2003 Asia-Pacific Conference of the American Academy of Advertising. Florida International University, FL : American Academy of Advertising.

Duncan, T. (2008). Principles of Advertising and IMC (2nd ed.). McGraw-Hill International Edition.

Eagle, L., Kitchen, P. J., & Bulmer, S. (2007). Insights into Interpreting integrated marketing Communications : A two nation qualitative comparison. European Journal of Marketing, 41(7-8), 956-970.

Kallmeyer, J., & Abratt R. (2001). Perception of IMC and organisational change among agencies in South Africa. International Journal of Advertising, 20, 361-380.

Kerr, G. (2009). Apple, oranges and fruit salad : A delphi study of the IMC educational mix. Journal of Marketing Communications, 15(2-3), 119-137.

Kerr, G., Schultz, D., Patti, C.& Kim, I. (2008). An inside-out approach to Integrated Marketing Communication : An international analysis. International Journal of Advertising, 27(4), 511-548.

Kitchen, P. J., & Tao, L. (2005). Perception of Integrated Marketing Communications : A Chinese Ad and PR agency perspective. International Journal of Advertising, 24(1), 51-78.

Kitchen, P. J., Pelsmacker, P., Eagle, L. & Schultz, D. E. (2005). A Reader in Marketing Communications. Oxon : Routledge.

Kliatchko, J. (2008). Revisiting the IMC Construct : A revised definition and four pillars. International Journal of Advertising, 27(1), 133-160.

Schultz, D. E., Tannenbaum, S. I., & Lauterborn, R. F. (1994). Integrated Marketing Communications. IL : NTC Business Books.

Vantamay, S. (2009). Integrated marketing Communication (IMC) of Advertisers in Thailand : Perceptions, Performances, and Measurement. Journal of Communication Arts, 27(4), 143-161.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11