การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติ เรื่องการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ในสถาบันอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • โสภัทร นาสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, ทักษะปฏิบัติ, รายการวิทยุกระจายเสียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติเรื่องการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติเรื่องการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติเรื่องการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้แนวทางการสอนตามลำดับรูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติ (MIAP) ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน 1. ขั้นนำ เข้าสู่บทเรียน (Motivation) 2. ขั้นให้เนื้อหาความรู้ (Information) 3. ขั้นให้ แบบฝึกหัดและการฝึก (Application) 4. ขั้นตรวจผลการฝึกหัด (Progress) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของบทเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิทยุ กระจายเสียงและโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1. บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติเรื่องการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียงที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1.ปัจจัยนำเข้า (Input) 2. กระบวนการเรียนการสอนฝึกปฏิบัติทางเทคนิคบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต (Process) 3. การควบคุม (Control) 4. ผลผลิต (Output) 5. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) มีผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสม มาก

2. ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติ เรื่องการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เท่ากับ 88.44/85.88 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนจากบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติเรื่องการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียงสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อ การฝึกทักษะปฏิบัติเรื่องการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยของทักษะปฏิบัติเท่ากับ 88.48 อยู่ในระดับดี

5. ความคงทนของทักษะปฏิบัติของนักศึกษาที่เรียนจากบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติเรื่องการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หลังการเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ เท่ากับร้อยละ 99.43

6. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนจากบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติเรื่องการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา มีค่าความคิดเห็นเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.45 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก

References

เกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัย. (2547). การสื่อสารและเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น. [http://www.cpe.ku.ac.th/nguan/204325/index-th.html#description]
ฉันทนา คำกัมพล. (2541). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียช่วยสอน วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการโรงแรม ในแผนกแม่บ้าน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา) ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิพวรรณ รัตนวงศ์. (2532). แนวโน้มหลักสูตรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในปีพ.ศ. 2545. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (อุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพย์เกสร บุญอำไพ. (2540). การพัฒนาระบบการสอนเสริมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิทยานิพนธ์ คด. (โสตทัศนศึกษา กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.)
บิล เกตส์. (2543). THE ROAD AHEAD. แปลจาก THE ROAD AHEAD โดย วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ. กรุงเทพฯ: ซอฟต์ แวร์ปาร์ค.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญเรือง เนียมหอม. (2540). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ คด. (โสตทัศนศึกษา) กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจนารถ ทองคำเจริญ. (2539). สภาพความต้องการและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (โสตทัศนศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุจิโรจน์ แก้วอุไร. (2543). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายใยแมงมุม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
_____. (2543). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายใยแมงมุม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.(เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. (อ้างอิงมาจาก Anderson, Terry. “Using the Internet for Distance education delivery and professional development” OPENpraxis. Vol.2. 1994, p. 8-11.)
_____. (2543). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายใยแมงมุม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.(เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2543. (อ้างอิงมาจาก Russette, James. “Using Telecommunications with Preservice Teacher,” Journal of Computer in Mathematics and Science Teaching. Vol.14, No.1/2. 1995, p.65-76.)
รุ่ง แก้วแดง. (2541). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
วารินทร์ รัศมีพรหม. (2542). การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วารินทร์ รัศมีพรหม. (2543). การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (อ้างอิงมาจาก Seels,B.,and Glasgoe, Z. Exercise in InstructionalDesign.Merrill Publishing Company. ABell & Howell Information Company, Columbus, Ohio 4321.)
วิชุดา รัตนเพียร. (2542). “การเรียนการสอนผ่านเว็บ : ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย.” วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 27(3) : มีนาคม-เมษายน 2542. หน้า 29-33.
_____. (2542). “การเรียนการสอนผ่านเว็บ : ทางเลือกใหม ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย.” วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 27(3) : มีนาคม-เมษายน 2542. หน้า 29-33. (อ้างอิงมาจาก Boettcher, J. & Cartwright, G.P. (1997). “Designing and Supporting Courses on the Web.” Change, 29(5), p.10-12.)
_____. (2543). “การเรียนการสอนผ่านเว็บ : ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย.” วารสารครุศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 27(3) : มีนาคม-เมษายน 2542. หน้า 29-33. (อ้างอิงมาจาก Khan, B. H. (1997). Web-based instruction. Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.)
อรพันธุ์ ประสิทธิรัตน์. (2530). คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คราฟแมนเพรส. หน้า8.
Gagne, Robert M. and Briggs,Leslie J. and Wager,Walter W. (1998). Principles of Instructional Desing. 3 rd ed. New York : Holt,Rinehart and Winston, Inc.
Hannum,Wallace. (1998). “EDCI 111 Web Based Instruction.” [htpp://www.soe.unc.edu/edci111/8-98/intro111.htm]
_____. “Internet Training.” [htpp://www.soe.unc.edu/edci111/8-98/intro111.htm] Indiana, University. “Introduction to Computers and Computing.” [http://www.iue.indiana.edu/departments/csci/a110/]
McManus, Thomas Fox. (1998). Delivering Instruction on the World Wide Web. http://ccwf.cc.utexas.edu/mcmanus/wbi.html (Online) University of Texas at Austin.
University of Saskatchewan. (2000). “Political Studies 11 0.6.” [http://www.extension.usask.ca/Programs/wecourses/polst110.6.html]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11