การวิเคราะห้ความยากลำบากในการชำระหนี้ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คำสำคัญ:
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา, ความยากลําบากในการชําระหนี้, ประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลอายุและรายได้ของผู้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในระดับปริญญาตรีในการวิเคราะห์ความยากลําบากในการชําระหนี้ โดยพิจารณาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์การชําระหนี้ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในปัจจุบันและหลักเกณฑ์ การชําระหนี้ที่ผู้วิจัยนําเสนออีก 3 หลักเกณฑ์ ซึ่งผู้วิจัยตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับระยะเวลาปลอดหนี้ของการคิดดอกเบี้ยและของการจ่ายคืนเงินต้น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แตกต่างจากหลักเกณฑ์ในปัจจุบัน ผู้วิจัยพบว่าภายใต้เงื่อนไขการชําระหนี้ในปัจจุบัน ความยากลําบากในการชําระหนี้โดยเฉลี่ยของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีซึ่งวัด จากอัตราส่วนของเงินชําระหนี้ต่อรายได้ทั้งหมด อยู่ที่ประมาณร้อยละ 4 ในขณะที่ความยากลําบากในการชําระหนี้ของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีรายได้อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 10 มีค่าสูงกว่าคิดเป็น 3 เท่า ในขณะที่ภายใต้หลักเกณฑ์ใหม่ ซึ่งไม่มีระยะเวลาปลอดหนี้และอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 7 โดยเฉลี่ยแล้วความยากลําบากในการชําระหนี้ของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า และความยากลําบากในการชําระหนี้ของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีรายได้อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 10 เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า
References
Chapman, B. and Lounkaew, K. (2008). “Income Contingent Student Loans for Thailand: Alternatives Comparative Conference Proceedings, DPU/ANU Conference, Financing, Nigher Education and Economic Development in East Asia, Bangkok, July 15-16, 2008.
Chapman, B. (2006). Government Managing Risk: Income Contingent Loans for Social and Economic Progress. Routledge. London.
Chapman, B. and Ryan, C. (2002). “Income-contingent financing of student charges for higher education: Assessing the Australian Innovation.” The Welsh Journal of Education, 11(1), 64-81.
Johnstone, D. B. (1986). Sharing the Costs of Higher Education: Student Financial Assistance in the United Kingdom, the Federal Republic of Germany, France, Sweden, and the United States. NewYork: The College Board.
Johnstone, D.B. (2004). “Higher educational finance and accessibility and student loan in Sub-Saharan Africa." Journal of Higher Education in Africa, 2(2), 11-36.
Johnstone, D.B. and Aemero, A. (2001). “The applicability for developing countries of income-contingent loans or graduate taxes, with special consideration of an Australian HECS-Type income-contingent loan program for Ethiopia.” Working Paper, University at Buffalo Center for Comparative and Global Studies in Education. Office of Student Loans Fund (2007). SLF's Handbook (in Thai). Bangkok.
Polsiri, P., Sarachitti, R. and Sitthipongpanich, T. (2008). “Thailand's Student Loan Fund: An Analysis of Inter est Rate Subsidies and Repayment Hardships.” Conference Proceedings, DPU/ANU Conference, Financing Higher Education and Economic Development in East Asia, Bangkok, July 15-16, 2008.
Shen, H. and Ziderman, A. (2007). “Student Loans Repayment and Recovery:International Comparisons.” Working Paper, Department of Economics, Bar Ilan University.
Tangkitvanich, S. and Manasboonphempool, A. (2006). “Policy evaluation of Student Loans Fund.” Working Paper, Thailand Development Research Institute.
Weesakul, Boonserm. (2006). Student Loans in Thailand: Past, Present and Future. Mimeo, Dhurakij Pundit University.
Ziderman. Adrian. (2003). Student Loans in Thailand: Are They Effective, Equitable, Sustainable?. United Nations Educational. Scientific and Cultural Organization (UNESCO). Bangkok.
Ziderman. Adrian. (2004). Policy Options for Student Loan Schemes: Lessons from Five Asian Case Studies. International Institute for Educational Planning. Paris: UNESCO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น