บทบาทรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กกับการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ
คำสำคัญ:
บทบาทของรายการโทรทัศน์, จิตสํานึกสาธารณะ, สื่อมวลชนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง บทบาทรายการโทรทัศน์สําหรับเด็กกับการสร้างจิตสํานึกสาธารณะนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่สัมพันธ์กับการสร้างจิตสํานึกสาธารณะให้แก่เยาวชน เพื่อศึกษาบทบาทของรายการโทรทัศน์ในการสร้างจิตสํานึก สาธารณะให้แก่เยาวชน เพื่อศึกษาทัศนะของเยาวชนที่มีต่อการส่งเสริมจิตสํานึกสาธารณะในรายการโทรทัศน์สําหรับเยาวชน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การ สัมภาษณ์เจาะลึกผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ การวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์และการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่สัมพันธ์กับการสร้างจิตสํานึกสาธารณะให้แก่เยาวชนส่วนใหญ่รายการเด็กจะสร้างจิตสํานึกสาธารณะใน 2 ประเด็นหลักคือ การสนับสนุนสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสาธารณชน โดยเน้นความสามัคคีและการให้อภัย กัน รวมทั้งการช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่าโดยไม่หวังผลตอบแทน
บทบาทรายการโทรทัศน์ในการสร้างจิตสํานึกสาธารณะให้แก่เยาวชนผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สําหรับเด็กเน้นบทบาทรายการในการสอนให้เด็กเรียนรู้ทักษะชีวิตเป็นหลัก โดยให้ความเห็นว่าจิตสํานึกสาธารณะควรถ่ายทอดผ่านรายการการ์ตูน และให้เด็กทํากิจกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม
ทัศนะของเยาวชนที่มีต่อการส่งเสริมจิตสํานึกสาธารณะในรายการโทรทัศน์สําหรับเยาวชน เด็กวัยเรียนจะเห็นว่า รายการโทรทัศน์สําหรับเด็ก ส่วนใหญ่มีการปลูกฝัง จิตสํานึกสาธารณะในด้านการช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งปันความรู้ให้แก่กัน ส่วนเด็กวัยรุ่นเห็นว่า รายการโทรทัศน์สําหรับเด็กส่วนใหญ่ สอนให้เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือกันและช่วยกันแก้ปัญหาในครอบครัว เด็กวัยรุ่นจะมีทัศนะเกี่ยวกับจิตสํานึกสาธารณะที่ หลากหลายขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน
References
ปาริชาต สถาปิตานนท์, 2546 ระเบียบวิธีการวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. 2526 ทัศนคติ, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2548 ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ราชบัณฑิตยสถาน. 2525 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น
ศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา. (2550) รายงานสถานการณ์เบื้องต้นสื่อกับเด็กเยาวชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สุภางค์ จันทวานิช. (2542) วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. (2549). การประเมินผลรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (รายงานการวิจัย), กรุงเทพฯ : สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
ธีรพล เกิดสุคนธ์. (2525), การศึกษาอิทธิพลทางจริยธรรมจากสื่อละครโทรทัศน์ที่มีต่อเยาวชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นันทวัน สุชาโต. (2520), อิทธิพลของการดูภาพยนตร์ ที่รุนแรงทางโทรทัศน์กับทัศนคติในเชิงก้าวร้าวของเด็กจากครอบครัวต่างฐานะเศรษฐกิจสังคม จากครอบครัวที่พ่อแม่ควบคุมการดูทีวีต่างระดับกันวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
นารากร ติตายน. (2536), การวิเคราะห์รายการโทรทัศน์สําหรับเด็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปฏิพันธ์ กระแสอินทร์. (2509), อิทธิพลของภาพยนตร์โทรทัศน์ต่อพฤติกรรมเด็กวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พนิดา บุญชัยศรี. (2538), ผลกระทบของรายการโทรทัศน์ “รายการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของเรา” ที่มีต่อความรู้การนําไปปฏิบัติตาม และการถ่ายทอดสู่บุคคลในครอบครัวของนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภัทร์ภูรี ประยูรเกียรติ. (2515), อิทธิพลของรายการโทรทัศน์ภาคค่ำต่อการอ่านของนักศึกษาในเขตกรุงเทพฯ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มนต์ชัย นินนานนท์. (2526), อิทธิพลของรายการโทรทัศน์ที่มีต่อเยาวชนในเขต อ.เมือง จ.เชียงใหม่, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
รัญจวน มีนประดิษฐ์. (2513) อิทธิพลของโทรทัศน์ที่มีต่อนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมาจากครอบครัวที่มีฐานะแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
ลัลธริมา เกื้อสกุล. (2547). กลยุทธ์การสื่อสารของกองทัพบกเพื่อสร้างจิตสํานึกสาธารณะ เรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตรพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุทธาทิพย์ ศรีวรานนท์. (2537) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตรายการโทรทัศน์สําหรับเด็ก ในปี 2536 วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อภิสิทธิ์ แซ่ฟู. (2547). ทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการนายกทักษิณคุยกับประชาชน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อรชุมา ยุทธวงศ์. (2525), ทัศนะบางประการเกี่ยวกับสภาพการณ์ปัญหา และอุปสรรคของการผลิตรายการโทรทัศน์สําหรับเด็ก การสัมมนาเรื่อง “การส่งเสริมการผลิตรายการโทรทัศน์สําหรับเด็ก” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน, 2550 เด็กกับโทรทัศน์ สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2550, จาก http://www.childmedia.net/seeworld/see-011.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น