แนวทางการพัฒนาการค้าชายแดนไทยกับประเทศจีนตอนใต้ : กรณีศึกษาอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • สุธีรา อะทะวงษา สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การค้าชายแดนไทยกับประเทศจีนตอนใต้, การพัฒนาการค้าชายแดน, การค้าชายแดน, อำเภอเชียงแสน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการค้าชายแดนของผู้ประกอบการไทยที่ติดต่อค้าขายกับประเทศจีนตอนใต้ และปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการค้าชายแดนไทยกับประเทศจีนตอนใต้ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ ผู้ประกอบการด้านการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่ผ่านกระบวนการศุลกากร จากด่านการค้าชายแดนด้านอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และผู้มีประสบการณ์และมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการค้าชายแดน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball sampling) โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการด้านส่งออก 50 ราย ผู้ประกอบการด้านนำเข้า 50 ราย และผู้มีประสบการณ์และมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการค้าชายแดน 10 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการค้าชายแดนของผู้ประกอบการทั้งด้านการส่งออกและการนำเข้ามีรูปแบบการค้าที่คล้ายคลึงกันโดยการดำเนินงานโครงการเกี่ยวกับการค้าชายแดนระหว่างไทยกับประเทศจีนตอนใต้ในภาพรวมยังคงพบปัญหาและอุปสรรคในด้านการส่งออกโดยเฉพาะ เรื่องขั้นตอนในการตรวจสอบสารพิษตกค้างที่มีระยะเวลานานและมีความซับซ้อน, การลอกเลียนแบบสินค้าไทย, การแข่งขันด้านราคาสินค้าในประเทศจีน, ระดับลำน้ำในแม่น้ำโขงที่เป็น อุปสรรคต่อการเดินเรือในฤดูแล้ง, การส่งเสริมการขายกับพ่อค้าคนกลางในจีน, การติดต่อสื่อสาร และการเก็บภาษีในประเทศจีน โดยสินค้าที่มักพบปัญหามากที่สุดคือผลไม้สดพบ ปัญหาด้านพิธีการศุลกากร ราคา และการส่งเสริมการตลาดในประเทศจีน ลำไยอบแห้งพบปัญหาคุณภาพสินค้า และสินค้าอุปโภคและบริโภคพบปัญหาด้านการขนส่งและการกระจายสินค้า ในขณะที่การนำเข้าสินค้าพบปัญหาด้านความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ในการตรวจเช็คสินค้า, ระดับการแข่งขันสินค้าภายในประเทศโดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคาสินค้า, ต้นทุนการขนส่งสินค้า, การส่งเสริมการขาย, การสื่อสารที่เป็นภาษาอังกฤษ และด้านอื่นๆ พบปัญหาด้านมาตรฐานและระบบการชำระเงินของจีน โดยสินค้าประมงและปศุสัตว์มักพบปัญหาด้านพิธีการศุลกากร การขนส่ง และ การกระจายสินค้า และการส่งเสริมการตลาดไม้และไม้แปรรูปพบปัญหาในด้านสินค้า และการส่งเสริมการตลาด ส่วนแร่ธาตุพบปัญหาด้านราคา และการส่งเสริมการตลาดเช่นกัน

ดังนั้นประเด็นแนวทางการพัฒนาการค้าชายแดนไทยกับประเทศจีนตอนใต้จะต้องได้รับความร่วมมือทั้งในส่วนของภาครัฐ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน ตลอดจนผู้ประกอบการการค้าชายแดนในการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาจังหวัดเชียงรายให้เป็นศูนย์กลางทางการค้า และการขนส่งที่สามารถเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ฐิติวรรณ ศรีเจริญ. (2541). ปัจจัยที่กำหนดการลงทุนของไทยในจีน. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงกมล สุนทรขัณฑ์. (2544). การศึกษาผลกระทบต่อไทยเมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกโดยใช้แบบจำลอง GTAP. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิสิต พันธมิตร. (2542). ปัญหาการค้าชายแดนในภาคเหนือตอนบน : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน และแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บัญชา คูอาริยะกุล. (2543). ผลกระทบทางเศรษฐกิจของการค้าชายแดนในจังหวัดน่าน. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประคอง รักษ์วงค์. (2543). อุปสรรคการค้าในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ. การศึกษาค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรพิมล สันติมณีรัตน์, (2542). เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรกิจ จุฑาเทศ. (2547). เปิดเส้นทางการค้า-ลงทุน 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : อินฟอร์มีเดียบุคส์.

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2545). สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย ปี 2545. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์.

สุรกิจ จุฑาเทศ.. (2547). สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย ปี 2547. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์.

สุรกิจ จุฑาเทศ. (2548). สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย ปี 2548. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย. (2542). สรุปภาวการณ์ค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย ประจำปี 2542. เชียงราย : สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย. (2543). สรุปภาวการณ์ค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย ประจำปี 2543. เชียงราย : สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย. (2544). สรุปภาวการณ์ค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย ประจำปี 2544. เชียงราย : สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย.

สำนักงานศุลกากรภาคที่ 3. (2549). คู่มือการปฏิบัติงานด่านศุลกากรเชียงแสน วันที่ 10 กรกฎาคม 2549. สำนักงานศุลกากรภาคที่ 3.

องอาจ สุขุมาลวรรณ์. (2546). การค้าชายแดนไทย-จีนตอนใต้: กรณีศึกษาอำเภอแม่สาย และเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Franklin R. Root. (1994). International Trade and Investment. (7th ed). United States of America: South-Western Publishing Co.

Wifred J. Etheier, Elhanan Helpman, and J.Peter Neary. (1993). Theory, policy and dynamics in international trade. Cambride: Great Britain at the University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-14