จิตวิญญาณของความต้องการเป็น “ที่หนึ่งในโลก” ของญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • วรินทร วูวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

นโยบายการศึกษาของญี่ปุ่น, การศึกษากับการสร้างคนแบบญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอปัญหาว่าทำไมญี่ปุ่นจึงต้องการเป็นที่หนึ่งในโลกและญี่ปุ่นใช้นโยบายอะไรในการผลักดันให้เป็นจริง ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก การที่ญี่ปุ่นจะอยู่รอดได้ในสังคมมีทางเดียวคือการพัฒนาเทคโนโลยีในระดับสูงเพื่อผลิต สินค้าให้แข่งขันได้ในระดับนานาชาติที่สำคัญคือ จิตวิญญาณของญี่ปุ่นเป็นจิตวิญญาณของการแข่งขันในระดับโลกสินค้าที่ผลิตจึงต้องเป็นที่หนึ่งในโลกเสมอ รัฐบาลญี่ปุ่นมองเห็นว่าการศึกษาคือ กุญแจสำคัญที่จะทำให้การรับรู้วิทยาการสมัยใหม่เป็นไปได้ง่ายขึ้น นโยบายของญี่ปุ่นที่เริ่มจากการไล่ตามประเทศตะวันตก ได้มีการขยับตัวเป็นต้องหนีการไล่ล่าจากประเทศในแถบเอเชียด้วยกัน ญี่ปุ่นจึงทุ่มเทการลงทุนที่จะต้องพัฒนาคนโดยผ่านกระบวนการศึกษา ญี่ปุ่นถือว่าการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นการลงทุน เครื่องมือการผลิตอย่างหนึ่ง ดังนั้นญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อสร้างคนให้มีคุณภาพและนำคนเหล่านี้ไปสร้างเศรษฐกิจของชาติ การพัฒนาเทคโนโลยีในระดับสูงเพื่อผลิตสินค้าแข่งกับนานาประเทศทั่วโลกได้นั้นญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณสมบัติใน 2 ประการคือ

1. เป็นผู้ที่มีความเข้มงวดต่อตนเอง (คุณภาพด้านการเป็นมนุษย์ที่พึงประสงค์ในสังคม)

2. เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในระดับสูง (คุณภาพด้านองค์ความรู้)

References

วรินทร วูวงศ์. 2546 การศึกษากับการสร้างคนแบบญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2. โครงการสนับสนุนการเขียนตำรามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์ (จัดจำหน่ายโดยดวงกมลสมัย).

วรินทร วูวงศ์ 2549 นโยบายการศึกษาของญี่ปุ่นต่อการพัฒนาคนยุค 2000. โครงการสนับสนุนการเขียนตำรามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (จัดจำหน่ายโดยดวงกลมสมัย).

Japan Almanac. 2002. Japan : Asahi Shimbun.

週刊ダイヤモンド 2008年8月30日第96巻33号30特大号.

ものづくり白書 2004 経済産業省・厚生労働省・文部科学省編.

重大ニュース2006日能研

遠山敦子2004こう変わる学校こう変わる大学 講談社

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-14