ช้างเท้าหน้า – ช้างเท้าหลัง : ข้อเสนอจากหลักฐานเชิงประจักษ์

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ สาขารัฐศาสตร์ หมวดวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

สำนวน, ช้างเท้าหน้า, ช้างเท้าหลัง, กลัวเมีย

บทคัดย่อ

การให้ความหมายของสำนวนช้างเท้าหน้า - ช้างเท้าหลัง ในปัจจุบันตั้งอยู่บนตรรกะที่ว่า ช้างก้าวเท้าหน้าก่อนเท้าหลังเสมอนำมาซึ่งการตีความว่าช้างเท้าหน้าหรือผู้ชาย หมายถึงผู้นำและช้างเท้าหลังหรือผู้หญิง หมายถึงผู้ตามบทความชิ้นนี้ มุ่งเสนอข้อสังเกตบางประการจากหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยโต้แย้งตรรกะที่ใช้อธิบายความหมายของสำนวนช้างเท้าหน้า - ช้างเท้าหลัง ในปัจจุบันและเสนอคำอธิบายตลอดจนความหมายของสำนวนช้างเท้าหน้า - ช้างเท้าหลัง ที่ควรจะเป็น ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า ช้างมิได้ก้าวเท้า หน้าก่อนเท้าหลัง ตรงกันข้ามในความเป็นจริง ช้างก้าวเท้าหลังก่อนเท้าหน้าเสมอ ฉะนั้น เท้าหน้าหรือผู้ชาย จึงมิอาจที่จะหมายถึงผู้นำ และเท้าหลังหรือผู้หญิง จึงมิใช่หมายถึงผู้ตาม หากแต่น่าที่จะเป็นการประนีประนอมระหว่างเท้าหน้าที่อยู่ข้างหน้าแต่ก้าวทีหลังกับเท้า หลังที่อยู่ข้างหลังแต่ก้าวก่อน

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545) สำนวนไทย กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว

กรมศิลปากร (2547) รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต) กรุงเทพมหานคร:โชติวงศ์ ปริ้นติ้ง

กฤตยา อาชวนิจกุล และ กนกวรรณ ธราวรรณ (2545) “ขบวนการทางสังคม บนมิติการเมืองเรื่องเพศและร่างกายผู้หญิง” ใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ วิถีชีวิต วิถีสู้: ขบวนการประชาชนร่วมสมัย กรุงเทพมหานคร: ตรัสวิน

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (2549) “ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง” มติชน (6 ธ.ค.) หน้า 6

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (2551) ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธรรมศักดิ์มนตรี, เจ้าพระยา และ อนุกิจวิธูร, พระยา (2467) ธรรมจริยา เล่ม 2 พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร: อักษรนิติ

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : มติชน.

นิยพรรณ (ผลวัฒนะ) วรรณศิริ (2550) มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม: แนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาและสาระสำคัญ ด้านมานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม ฉบับสมบูรณ์ กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท

นุ่มนวล ยัพราช (2549) “พัฒนาการทางการเมืองของขบวนการสิทธิสตรีไทย” ใน ใจ อึ๊งภากรณ์ และคณะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในไทย กรุงเทพมหานคร: ประชาธิปไตยแรงงาน

เนื่องน้อย บุญยเนตร (2535) “ครอบครัว” ใน สุวรรณา สถาอานันท์ และ เนื่องน้อย บุญยเนตร (บรรณาธิการ) คำ: ร่องรอยความคิด ความเชื่อไทย กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บุญยงค์ เกศเทศ (2532) สถานภาพสตรีไทย กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์

พรรณประภา อินทรวิทยนันท์ (2550) บทบาทและอิทธิพลภริยานายกรัฐมนตรีไทย ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองไทยในรอบ 70 ปี (2475-2550) กรุงเทพมหานคร: บ้านพิทักษ์อักษร

มติชนสุดสัปดาห์ (2551ก, 26 กันยายน-2 ตุลาคม) “จะถูก จะแพง ขอ ‘แดง’ ไว้ก่อน” มติชนสุดสัปดาห์, 28, 1467. หน้า 9

มติชนสุดสัปดาห์ (2551ข, 26 กันยายน-2 ตุลาคม) “นายกสมาคม ‘เกรงใจเมีย’ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ชีวิตนี้พลีเพื่อ ‘น้องแดง’” มติชนสุดสัปดาห์, 28, 1467. หน้า 10

มูลนิธิภาพยนตร์ไทย (2551) กลัวเมีย สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2551 จากhttp://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=4368&page=4&keyword=

ยศ สันตสมบัติ (2535) “แม่” ใน สุวรรณา สถาอานันท์ และ เนื่องน้อย บุญยเนตร (บรรณาธิการ) คำ: ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยศ สันตสมบัติ (2544) มนุษย์กับวัฒธรรม พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ไรท์, ไมเคิล (2532) “สตรีนิยม หรือพลีเจ้าแม่” ศิลปวัฒนธรรม, 10, 12. หน้า 88-91

มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ (2548) จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม พิมพ์ครั้งที่ 2 แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร นนทบุรี : ศรีปัญญา

วิจิตรมาตรา, ขุน (2543) สำนวนไทย พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร: ภาษาและวัฒนธรรมศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2550) รายการวิทยุ “ไม่ใช่ช้างเท้าหลัง” สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2551 จาก http://www.soc.cmu.ac.th/~wsc/radiolist.html

สมเกียรติ วันทะนะ (2550) “อำนาจ” สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 33, 2. หน้า 196-207

สมชาย สำเนียงงาม (2549) ““ช้าง” ในสำนวนไทย: การศึกษาความหมาย” ใน บาหยัน อิ่มสำราญ (บรรณาธิการ) ภาษาและวรรณกรรมสาร ฉบับภาษาและวรรณกรรมกับสังคม นครปฐม: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สินิทธิ์ สิทธิรักษ์ (บรรณาธิการ) (2542) เท้าหลังย่างก้าว กรุงเทพมหานคร: โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ (2537) ช้างไทย กรุงเทพมหานคร: มติชน

สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ (2550) อาหาร อารมณ์ และอำนาจของสตรี ในวรรณกรรมร้อยแก้วตะวันตกร่วมสมัย กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เอกรัตน์ อุดมพร และ สิทธิโรจน์ วงศ์วิทยาเจริญพัฒนา (2550) ๒,๐๐๐ สำนวนไทย กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา

AsiaSoft Official Webboard (2008) “Page 19” Retrieved August 17, 2008 from http://203.144.244.156/showthread.php?p=1326107

Pongsapich, Amara (1997) “Feminism Theories and Praxis: Women’s Social Movement in Thailand” In Somswasdi, Virada and Theobald, Sally (Eds.) Women, Gender Relations and Development in Thai Society Chiang Mai : Women’s Studies Center, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University

Pramoj, Seni 1978 Interpretative Translations of Thai Poets Bangkok: Thai Watana Panich.

Thai2english.com (2008a) “ช้างเท้าหน้า” Retrieved August 17, 2008 from http://www.thai2english.com/dictionary/20828.html

Thai2english.com (2008b) “ช้างเท้าหลัง” Retrieved August 17, 2008 from http://www.thai2english.com/dictionary/20954.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-14