CPD กับนักบัญชีวิชาชีพในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สงกรานต์ ไกยวงษ์ คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

นักบัญชีวิชาชีพ, การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

ปัญหาทางเศรษฐกิจทั่วโลกในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากการบิดเบือนการรายงานทางการบัญชี ซึ่งเกิดจากการที่นักบัญชีวิชาชีพไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standards Board: IASB) เป็นหน่วยงานที่ทำงานและพยายามที่จะกำหนดมาตรฐานการบัญชีให้สอดคล้องกันเพื่อใช้ได้ทั่วโลก (International Financial Reporting Standards: IFRS) จากผลกระทบนี้จึงทำให้สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ของประเทศไทยได้กำหนดให้นำมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศมาใช้เป็นแนวทางในการกำกับและพัฒนาการปฏิบัติงานของนักบัญชีวิชาชีพ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาการศึกษาต่อเนื่องทางวิชาชีพของนักบัญชีในประเทศไทยว่าจะทำอย่างไรจึงจะพัฒนานักบัญชีวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม การศึกษานี้มุ่งศึกษาจากแนวคิดของผู้ทำวิจัยและวรรณกรรมต่างๆหลายท่านทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมถึงแนวคิดของผู้เขียนบทความนี้ จากผลการศึกษาได้ข้อสรุปดังนี้โดยเริ่มจากหน่วยงานกำกับดูแลได้กำหนดให้นักบัญชีวิชาชีพเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพ (Continuing Profession Development หรือ CPD) ในประเทศไทย การกำหนดไว้ในปัจจุบันมีความเหมาะสมในการกำหนดชั่วโมงของ CPD ของนักบัญชีวิชาชีพ การจัดหลักสูตรการอบรมรวมถึงระยะเวลาในการอบรม ควรมีการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นและหลักสูตรนั้นควรเป็นหลักสูตรที่เพิ่มคุณวุฒิให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม มีการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานสำหรับการอบรมให้เหมาะสมในแต่ละหลักสูตร อีกทั้งการจัดหลักสูตรควรมีความหลากหลายรูปแบบและหลากหลายสาขาวิชา ในส่วนของสภาบัญชีวิชาชีพในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับ ดูแลที่ต้องจัดระบบติดต่อสื่อสารที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพในประเทศไทยยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในกลุ่มของนักบัญชีวิชาชีพไทย โดยบางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการบังคับให้มีการอบรม CPD และบางกลุ่มเห็นด้วยที่จะกำหนดให้มีการนับชั่วโมงอย่างเป็นทางการ ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาอีกทางหนึ่งสำหรับนักบัญชีวิชาชีพในประเทศไทยการกำหนดให้มีการนับชั่วโมง CPD ถือว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. “ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทาวบัญชีวิชาชีพ พ.ศ.2547” “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dbd.go.th สืบค้น 28 ธ.ค. 2552

กรมสรรพากร. “การพัฒนาผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตรมมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร. มิถุนายน 2551” “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.rd.go.th สืบค้น 20 ต.ค. 2551

ภาวิพัชร มณีนิล. 2550. “ความพึงพอใจของผู้ทำบัญชีที่มีต่อการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ(CPD)” สาระนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, กรุงเทพ. คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บัวจันทร์ อิทธิโส และคณะ. 2552. “ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตนเองกับความเป็นมืออาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย”. มหาสารคาม : คณะการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สงกรานต์ ไกยวงษ์. 2553 “ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีวิชาชีพในบริบทของผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต” กรุงเทพฯ : คณะการบัญชีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. “ข้อบังคับสภาบัญชีวิชาชีพ (ฉบับที่ ๑๕) เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเข้ารับการฝึกอบรม หรือเข้าร่วมประชุมสัมมนา เพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพ.ศ. ๒๕๕๐” “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์”.

________(ออนไลน์). เข้าถึงได้ จาก http://www.fap.or.th สืบค้น 8 ส.ค. 2551 สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. 2552. “The Road to Transparency” กรุงเทพฯ. หนังสือที่ระลึกเนื่องในพิธีเปิดอาคารสภาบัญชีวิชาชีพ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อุษณา ภัทรมนตรี (2545) “การศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาบัญชีวิชาชีพสำหรับประเทศไทย” วารสารนักบัญชี ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ISSN 0125 6009

Beverley Jack ling,Paul DE lange ,Joav Rav On. 2007. “Accounting Graduate Employment Destinations and Commitment to CPD” Accounting Education. A Study from Two Australian Universities

DeAngelo, H.L. 1981. “Auditor Size and Audit Quality”. Journal of Accounting and Economics. 3, 3:183-199.

International Federation of Accountants. “International Education Standards –IES7 ”

________(Online). Can Be Found at its Web site, http://www.ifac.org 24 April 2009

Roth well, Andrew, Herbert, Ian . (2007) “Accounting Professionals and CPD” attitudes and engagement- some survey evidence

Zajkowki, Mary, Sampson, Vivienne, David. 2007. “Continuing Professional Development” Perceptions From New Zealand and Australian Accounting Academics

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-18