ความพึงพอใจหลังการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จิราพร กำจัดทุกข์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ปรีชา วิจิตรธรรมรส สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจของลูกค้า, คอนโดมิเนียม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม โดยตัวอย่างเป็นผู้ตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งสร้างแล้วเสร็จในช่วงปี 2549-2551 และมีระดับราคาขายไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 236 ราย ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างสามขั้นแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ที่อยู่อาศัยเดิม ที่ทำงานปัจจุบัน พฤติกรรมในการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ และความพึงพอใจหลังการตัดสินใจซื้อ ใน 4 ด้าน คือ ผลิตภัณฑ์ ราคา สิ่งอำนวยความสะดวก และสภาพแวดล้อมรอบโครงการ

ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมทุกด้านผู้ตัดสินใจซื้อไม่มีความพึงพอใจ หลังการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่าผู้ตัดสินใจซื้อไม่มีความพึงพอใจใน 3 ด้าน คือ ผลิตภัณฑ์ ราคา และสิ่งอำนวยความสะดวก และมีความพึงพอใจใน 1 ด้าน คือสภาพแวดล้อมรอบโครงการ โดยไม่มีความพึงพอใจ 3 ลำดับแรกในเรื่องต่างๆ ของแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ พร้อมเข้าอยู่ได้ทันที ความสวยงามของเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ตกแต่งห้องชุด และคุณภาพและมาตรฐานของเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ตกแต่งห้องชุด ด้านราคา ได้แก่ การจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบราคาขายกับเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ตกแต่งห้องชุด และการจัดเก็บค่าสาธารณูปโภค ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ อินเทอร์- เน็ตไร้สาย ร้านอาหาร และร้านคอฟฟี่ช็อป สำหรับความพึงพอใจในด้าน สภาพแวดล้อมรอบโครงการ 3 ลำดับแรก ได้แก่ความปลอดภัยรอบโครงการ การคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว และปราศจากมลภาวะที่ไม่ดี

References

[1] นรินทร์ สกุลคลานุวัฒน์ และคณะ. 2526. คอนโดมิเนียม: กฎหมาย สถานการณ์ ปัจจุบัน มาตรฐานการลงทุน การตลาดและการบริหารงาน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิชาการที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ การเคหะแห่งชาติ.
[2] ประทีบ จารุวิริยะรุ่ง. 2538. ความต้องการลักษณะที่อยู่อาศัยในทศวรรษหน้าของคนรุ่นใหม่ในกลุ่มบัณฑิตมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร ยกเว้นมหาวิทยาลัยเปิด. วิทยานิพนธ์เคหพัฒนาศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] ฝ่ายวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. 2551. ผลสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัย นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรก. ค้นวันที่ 13 ธันวาคม 2551 จาก http://www.reic.or.th
[4] พิชัย สันติวงศ์. 2541. ปัจจัยการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคาปานกลางในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ: กรณีศึกษาผู้กู้สินเชื่อกับธนาคารอาคารสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] สายหยุด เกิดสวัสดิ์. 2546. ความต้องการอาคารชุดพักอาศัยในเขตดินแดงและห้วยขวาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[6] สาวิตร โกมาสถิตย์. 2549. การตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[7] สิริมา แสงอาวุธ. 2545. การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค ในพ.ศ. 2540-2545 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[8] โสภณ พรโชคชัย. 2551. อาคารชุดพักอาศัยใจกลางเมืองตามแนวรถไฟฟ้า. วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์. 14 (เมษายน – มิถุนายน): 25-31.
[9] Cochran William, G. 1977. Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-18