การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์

ผู้แต่ง

  • วิสุทธิ์ ตรีเงิน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

โครงงานวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาที่ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ กับนักศึกษาที่ไม่ได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาการบัญชี คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 76 คน จับสลากเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 38 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 38 คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนตามแผนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์และได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเรียนตามปกติ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ แบบแผนการทดลองเป็นแบบ Pretest-Posttest Control Group Design การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติ t – test Independent ในรูป Difference Score

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปได้ว่า นักศึกษาที่ทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์

References

ธีระชัย ปูรณโชติ. (2544). การเรียนการสอนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน : โครงงาน วิทยาศาสตร์. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ครั้งที่ 9, มกราคม 2544. กรุงเทพฯ : สมาคมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีการศึกษาไทย.

นารีรัตน์ ฟักสมบูรณ์. (2541). การใช้ชุดส่งเสริมศักยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ในการ พัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์ การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : หจก.พี.เอ็น. การพิมพ์.

_______________. (2543). สถิติวิจัย 1. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : หจก.พี.เอ็น.การพิมพ์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2549). การสอนคิดด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 . กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

หนึ่งนุช กาฬภักดี. 2543. การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดระดับสูงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบปฏิบัติการตามแนว

คอนสตรัคติวิซึม. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการ มัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

Scott, William D. & Michael Wertheimer. (1962). “Introduction to Psychological Research.” Retrieved December 25, 2007. From http://www.questia.com/library/book/introduction-to-psychological- research-by-william-a-scott-michael-wertheimer.jsp#

Shaw, Terry J. (1977). The Effect of Problem Solving Training in Science Upon Utilization of Problem Skill in Science and Social Studies. (Abstract). Retrieved December 25, 2007, From Dissertation Abstract International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-19