การจัดการเรียนรู้ของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ใช้วิธีการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก

ผู้แต่ง

  • บุศรา นิยมเวช ปริญญาเอก อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สิริรัตน์ หิตะโกวิท ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ทยิดา เลิศชนะ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สันทนา สุธาดารัตน์ รองศาสตราจารย์ และปริญญาเอก สถาบันนานาชาติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงรุก, การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ใช้วิธีการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ใช้วิธีการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือคณาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 290 คน ซึ่งคำนวณโดยใช้สูตรของ Yamane (1973, pp. 727-728) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามการจัดการเรียนรู้ของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ใช้วิธีการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีของ Cronbach เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้การทดสอบ ค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) คณาจารย์ใช้วิธีการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งในรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้สอนรองลงมาคือ ด้านเนื้อหาด้านการวัดประเมินผล ด้านสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านผู้เรียน ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้เชิงรุกจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการสอนดังนี้ 2.1) คณาจารย์เพศชายมีวิธีสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุกมากกว่าคณาจารย์เพศหญิงและ 2.2) ระดับการศึกษาในภาพรวมไม่แตกต่าง แต่ประสบการณ์ในการสอนในภาพรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กานต์ อัมพานนท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด วิชาความเป็นครูสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 20(2), 87-101.

ประเสริฐ แก้วแจ่ม. (2547). ความสามารถพื้นฐานเพื่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูช่างอุตสาหกรรมสังกัด กรมอาชีวศึกษา ในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา, 116(74ก), 1-23.

มัลลิกา เกตุชรารัตน์, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ, และวิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2558). การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 43(1), 112-127.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6 ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Astin, A. W. (1985). Achieving educational excellence. San Francisco: Jossey Bass.

Bloom, B. S. (Ed.). (1956). Taxonomy of educational objectives: Handbook 1: The cognitive domain. New York: Longman.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom (ASHE-ERIC Higher Education Report). Washington, DC: George Washington University, School of Education and Human Development. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=ED340272

Center for Educational Innovation. (2019). Active learning. Retrieved June 24, 2019, from https://cei.umn.edu/active-learning

Chickering, A. W., & Gamson, Z. F. (1987, March). Seven principles for good practice in undergraduate education. AAHE Bulletin, 39, 3-7. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=ED282491

Cross, K. P. (1987). Teaching for learning. AAHE Bulletin, 39(8), 3-7. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=ED283446

Freeman, S., Eddy, S. L., McDonough, M., Smith, M. K., Okoroafor, N., Jordt, H., & Wenderoth, M. P. (2014). Active learning increases student performance in science, engineering, and mathematics. Proceedings of the National Academy of Sciences, 111(23), 8410. Retrieved from https://doi.org/10.1073/pnas.1319030111

Piaget’s theory of cognitive development. (n.d.). Retrieved June 29, 2019, from http://www.massey.ac.nz/~wwpapajl/evolution/assign2/DD/theory.html

Progressive education. (n.d.). In Encyclopedia Britannica. Retrieved June 30, 2019, from https://www.britannica.com/topic/progressive-education

Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: Theory, research, and practice (2nd ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Weltman, D. (2007). A comparison of traditional and active learning methods: An empirical investigation utilizing a linear mixed model (Unpublished doctoral dissertation). The University of Texas at Arlington.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-25