การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ในรายวิชาจิตวิทยาการศึกษา
คำสำคัญ:
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์, จิตวิทยาการศึกษา, นิสิตระดับอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ต่อการเสริมสร้างการเรียนรู้ของนิสิตในรายวิชาจิตวิทยาการศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนรู้ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 01166211 จิตวิทยาการศึกษาภาคต้น ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 หมู่เรียน ซึ่งผู้วิจัยสุ่มแบบแบ่งกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง พัฒนาการพื้นฐานเพื่อความเข้าใจมนุษย์ และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเรียนรู้ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ และสถิติทดสอบ Matched Pairs t-Test
ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนจากแบบทดสอบภายหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการศึกษาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมาก ( = 3.89) และกลุ่มตัวอย่างได้สะท้อนเพิ่มเติมว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีเนื้อหาที่ดีสามารถนำไปใช้ทบทวนเนื้อหาได้ และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้นิสิตสามารถศึกษาก่อน และหลังจากการเรียนในชั้นเรียนได้
References
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). อีเลิร์นนิ่งคอร์สแวร์: แนวคิดสู่การปฏิบัติ สำหรับการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในทุกระดับ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพรหม อินทุยศ. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. เพชรบูรณ์: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเพชรบูรณ์.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). รูปแบบการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ในระดับอุดมศึกษา. เชียงใหม่: สถานบริการคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประยุทธ์ ไทยธานี. (2550). จิตวิทยาการศึกษา. นครราชสีมา: โปรแกรมวิชาจิตวิทยาการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ปิยะวรรณ ขุนทอง. (2561). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: Protext.com.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์, และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณี ลิมอักษร. (2554). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.
วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สกายบุ๊กส์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดม คชินทร. (2561). เด็ก Gen Z. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/
Corno, L., & Anderman, E. M. (2016). Handbook of educational psychology. New York: Routledge.
Lim, J. H., Dannels, S. A., & Watkins, R. (2008). Qualitative investigation of doctoral students’ learning experiences in online research methods courses. Quarterly Review of Distance Education, 9(3), 223-348.
Moreno, R. (2010). Educational psychology. Hoboken, N.J.: Wiley.
Slavin, R. E. (2003). Educational psychology: Theory and practice. Boston, Mass.: Allyn and Bacon.
Szulevicz, T., & Tanggaard, L. (2017). Educational psychology practice: A new theoretical framework. CH: Springer International Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น