ลักษณะของสื่อดิจิทัลบนเฟซบุ๊กที่มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • กฤษณกันต์ เกรียงทวีชัย สาขาวิชานโยบายและการบริหารดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วศินี หนุนภักดี สาขาวิชานโยบายและ การบริหารดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ลักษณะสื่อ, สื่อดิจิทัล, รูปแบบเนื้อหา, การรับรู้ภาพลักษณ์, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, เฟซบุ๊ก

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “ลักษณะของสื่อดิจิทัลบนเฟซบุ๊กที่มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะของสื่อดิจิทัลบนเฟซบุ๊กที่มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative method) โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ด้วยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานเฟซบุ๊กในประเทศไทยจำนวน 400 คน โดยศึกษาถึงลักษณะของสื่อดิจิทัล ได้แก่ ข้อความ รูปภาพ วีดีโอ อินโฟกราฟิก รูปแบบเนื้อหาที่มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านหน่วยงาน ด้านการบริการ ด้านบุคลากร และภาพลักษณ์ในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ผลการศึกษาพบว่า ระดับความสนใจของสื่อดิจิทัลประเภท รูปภาพ วิดีโอ อินโฟกราฟิก และรูปแบบเนื้อหาอยู่ในระดับมาก ส่วนระดับความสนใจของสื่อดิจิทัลประเภทข้อความอยู่ในระดับปานกลาง ระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านหน่วยงาน ด้านการบริการ ด้านบุคลากร และภาพลักษณ์ในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในระดับปานกลาง โดยลักษณะของสื่อดิจิทัลประเภทรูปแบบเนื้อหาและ ข้อความที่นำเสนอมีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านหน่วยงาน ภาพลักษณ์ด้านการบริการและภาพลักษณ์ในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนสื่อประเภทรูปแบบเนื้อหาและวิดีโอมีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านบุคลากรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะพบว่ารูปแบบเนื้อหานั้นมีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ในทุกด้านของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

References

กระทรวงเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2560). สื่อดิจิทัลใหม่..สื่อแห่งอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชูชัย สมิทธิไกล. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2548). ยุทธวิธีการสร้างภาพลักษณ์ผู้บริหารด้วยการจัดการสื่อสารและประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2549). การประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ, กองยุทธศาสตร์. (2561). ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 20 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ.

เสกสรร รอดกสิกรรม. (2558). การสร้างความยั่งยืนด้วยการใช้เนื้อหาเชิงการตลาด (content marketing) เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันทางธุรกิจ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสริมยศ ธรรมรักษ์, เกียรติศักดิ์ วัฒนศักดิ์, ณัฐา ฉางชูโต, และสุมาลี เล็กประยูร. (2550). หลักการตลาดสำหรับนักนิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Dodson, I. (2016). The art of digital marketing. Hoboken, New Jersey: Wiley.

Percy, L. (2018). Strategic integrated marketing communication (3rd ed.). Abingdon: Routledge.

Hobbs, R. (2011). Digital and media literacy. California: Corwin.

Loredana, P. B. (2015). Content marketing - the fundamental tool of digital marketing. Bulletin of the Transilvania University of Braşov Series V: Economic Sciences, 8(57), 111-118.

Rowley, J. (2008). Understanding digital content marketing. Journal of Marketing Management, 24, 517-540. doi: 10.1362/026725708X325977

We are Social & Hootsuite. (2020). Digital 2020: global digital overview. Retrieved from https://datareportal.com/reports/digital-2020-global-digital-overview

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28