การนำเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นและกลวิธีการตั้งชื่อชุดประจำชาติของมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2018

ผู้แต่ง

  • สมิทธ์ชาต์ พุมมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

กลวิธีการตั้งชื่อ, โครงสร้างการตั้งชื่อชุด, ชุดประจำชาติ, มิสแกรนด์ไทยแลนด์ปี 2018

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการตั้งชื่อชุดประจำชาติของมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2018 ด้านการนำเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นและด้านโครงสร้างภาษา โดยเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2018 ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า กลวิธีการตั้งชื่อชุดประจำชาติของมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2018 มีจำนวนทั้งสิ้น 10 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามบุคคล กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามพืช กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามสัตว์ กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามสิ่งของ กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามสถานที่ กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามศิลปะการแสดง กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามกีฬาหรือการละเล่น กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามประเพณี พิธีกรรม หรือเทศกาล กลวิธีการตั้งชื่อชุดตามสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นหรือวิถีชีวิต และกลวิธีการตั้งชื่อชุดตามตำนาน ประวัติศาสตร์ หรือความเป็นมาของท้องถิ่น ซึ่งแต่ละกลวิธีดังกล่าวมีโครงสร้างการตั้งชื่อที่แตกต่างกั

References

กฤตพล วังภูสิต. (2555). ชื่อธุรกิจการค้าในย่านสยามสแควร์ : การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤติกา ชูผล. (2554). ศึกษาชื่อเรือประมงในจังหวัดสมุทรสงคราม : การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเป็น 4 ภาค. สืบค้น 1 กันยายน 2561, จาก http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AboutStudent/Sheet/M1/s21101/term1/GeoThaiProvince/pdf/GeoThaiProvince3.pdf

การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์. สืบค้น 1 กันยายน 2561, จาก https://www.missgrandthailand.com/about-us

การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ปี 2018. สืบค้น 1 กันยายน พ.ศ. 2561, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2018

กิตติพัฒน์ เพ็ชรทองนะ. (2551). ศึกษาการตั้งชื่อยันต์ของคนไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชุติมา บุญอยู่. (2549). วิเคราะห์โครงสร้างภาษาและกลวิธีการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยในช่วง 2 ทศวรรษ (พ.ศ. 2526-พ.ศ. 2545) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นควัฒน์ สาเระ. (2550). การตั้งชื่อร้านค้าในจังหวัดปัตตานี : ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อร้านค้ากับวิถีชีวิตในชุมชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี ศรีราชเลา. (2561). การเปลี่ยนแปลงการตั้งชื่อหมู่บ้านและอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่สะท้อนผ่านชื่อหมู่บ้านในจังหวัดมหาสารคาม. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2562, จาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/166757-Article%20Text-466427-1-10-20190117%20(2).pdf

ราชันย์ ปรึกษา, และอุมาภรณ์ สังขมาน. (2557). การตั้งชื่อเพลงไทยเดิม. วารสารวจนะ, 2(2), 1-23.

วงเดือน คัยนันทน์. (2547). การตั้งชื่อพันธุ์ไม้มงคลในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัช ศิริวัฒนะนาวิน. (2544). การตั้งชื่อของคนไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-21