ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักขนาดเล็กของ นักท่องเที่ยวไทยในหาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัญนภัส พฤกษากิจ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาด, นักท่องเที่ยวไทย, ที่พักขนาดเล็ก, หาดเจ้าหลาว, จันทบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ณ หาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบปัจจัยการสื่อสารการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวไทย ณ หาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี โดยที่การวิจัยมี 2 ระยะคือ ระยะที่หนึ่ง การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเพื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการที่พักแรมขนาดเล็กและนักท่องเที่ยวอิสระ ระยะที่สองคือ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บแบบสอบถามจำนวน 400 ตัวอย่าง ในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ซึ่งใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวไทยในหาดเจ้าหลาวมี 5 องค์ประกอบ คือ 1) การโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ 2) คุณภาพในการให้บริการของพนังงานขาย 3) การส่งเสริมการตลาด 4) การตลาดทางตรง 5) การประชาสัมพันธ์ ตามลำดับ โดยทั้ง 5 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ 65.187% เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดที่ส่งผลต่อนักท่องเที่ยวไทยมากที่สุด คือ การโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์

References

กรมสรรพากร. (2553). ธุรกิจ SMEs. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/porkor/taxused/SMEs.pdf.

จิรวุฒิ หลอมประโคน, ศลาฆนันท์ หงส์สวัสดิ์, และรัชภร รุ่งตั้งธนาบุญ. (2562). ปัจจัยการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาตลาดน้ำทุ่งบัวแดง จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2), 73-82.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีพร นาคา, สิทธิชัย พรหมสุวรรณ, เสรี วงษ์มณฑา, และธาดากร ธนาภัทรกุล. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตภาคใต้ตอนบน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 5(3), 291-304.

ธนินนุช เงารังษี, และมัลลิกา ผลอนันต์. (2560). เครื่องมือการสื่อสารการตลาดกับการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 143-154.

ธารีทิพย์ ทากิ. (2549). การจัดการงานส่วนหน้าของโรงแรม. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส.

นวลปราง ขันเงิน. (2562). กลยุทธ์การตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(2), 200-210.

ปฤณพร บุญรังสี, และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(ฉบับพิเศษ), 194-205.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช, และพนา จินดาศร. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 3-12.

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2563). โรคระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Covid-19): ผลกรทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของไทยและกลยุทธ์ในการฟื้นฟูกิจการ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(2), 10-30.

ศิระ ศรีโยทิน. (2561). เครื่องมือการสื่อสารการตลาดเพื่อการสร้างแบรนด์องค์กร. วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2247-2263.

ศุทธิกานต์ คงคล้าย, และธัญเทพ ยะติวัฒน์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกที่พักแรมของ นักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11(1), 19-31.

สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี ฉบับทบทวน พ.ศ. 2561 – 2565. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.chanthaburi.go.th/news_devpro

สํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทยรายจังหวัด ปี 2563. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=592

สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2546). ความหมายการท่องเที่ยว. สืบค้น 2 มีนาคม 2564, จาก www.tourism.go.th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 ข้อมูลพื้นฐาน จังหวัดจันทบุรี. สืบค้น 7 ตุลาคม 2562, จาก www.nso.go.th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์จากชุดข้อมูลกลางเรื่อง การท่องเที่ยว. สืบค้น 19 มีนาคม 2562, จาก www.chanthaburi.nso.go.th

สิทธ์ ธีรสรณ์. (2559). การสื่อสารทางการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2558). หลักการตลาด สมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมการศาสตร์ เทคนิคการใช้โปรแกรม Lisrel (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ :เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

อาทิตยาพร ประสานพานิช. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและประโยชน์ของตัวแทนจัดจำหน่ายทางการท่องเที่ยวออนไลน์ในการส่งเสริมการตลาดของโรงแรมในจังหวัดนครพนม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยว, 14(1), 3-15.

อานนท์ วงษ์เชียง, และสุรีย์ เข็มทอง. (2555). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 10(1), 108-118.

Cochran, W. G. (2007). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2018). Principles of marketing. Harlow: Pearson.

Xu, F., Niu, W., Li, S., & Bai, Y. (2020). The mechanism of word-of month for tourist destinations in crisis. SAGE journals, 10(2), 1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30