ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในการชำระเงินผ่านโมบายล์แอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, การยอมรับเทคโนโลยี, การชำระเเงินผ่านโมบายล์แอปพลิเคชั่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีในการชำระเงินผ่านโมบายล์แอปพลิเคชั่น 2) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ของการชำระเงินผ่านโมบายล์แอปพลิเคชั่น 3) เปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยีในการชำระเงินผ่านโมบายล์แอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร จําแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และการยอมรับเทคโนโลยีในการชำระเงินผ่านโมบายล์แอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยการชำระเงินผ่านโมบายล์แอปพลิเคชั่น และอาศัย ทํางาน หรือศึกษา อยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่า t-test กับ ค่า ANOVA และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ (.537) อายุ (.251) ระดับการศึกษา (.507) อาชีพ (.387) และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (.219) ที่แตกต่างกันมีการยอมรับเทคโนโลยีในการชำระเงินผ่านโมบายล์แอปพลิเคชั่นไม่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีในการชำระเงินผ่านโมบายล์แอปพลิเคชั่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์. (2553). ส่วนประสมการตลาดออนไลน์. สืบค้น 6 สิงหาคม 2563, จาก http://spssthesis.blogspot.sg/
ชญาภรณ์ คุ้มถิ่นแก้ว, และจรัญญา ปานเจริญ. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อการชำระเงินผ่านระบบ QR Code ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(106), 58-69.
ชวลิต ธวัชราภรณ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ Mobile Payment Application สําหรับการชําระเงิน กรณีศึกษา Samsung Pay (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณวัฏภูมิ ลี้เจริญกวีคุณ. (2561). พฤติกรรมการใช้บริการ Mobile Banking ของลูกค้าธนาคารกรุงเทพกรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานระบบการชำระเงิน 2561. สืบค้น 6 สิงหาคม 2563, จาก https://www.bot.or.th/broadcast/EBook/AnnualReportPayment/2018/Th/html/mobile/index.html
นันทนี ลักษมีการค้า. (2561). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีต่อการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดของประชากรเจเนอเรชันเอ็กซ์ขึ้นไป: กรณีศึกษาจังหวัดกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วลัญช์รัตน์ นพเก้า. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการการชําระเงินผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Payment) ของผู้ให้บริการที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ให้บริการที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2550). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สราวัลย์ ตั้งปัทมชาติ, และจรัญญา ปานเจริญ. (2562). ความสำเร็จของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อพฤติกรรมการชำระ เงินผ่านโมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(109), 173-185.
สุรีย์พร เหมืองหลิ่ง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการทางการเงินผ่าน Mobile banking application ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โอบนิธิ วชิรานุวงศ์. (2561). การยอมรับเทคโนโลยีการชําระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code) (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Davis, F. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 319-340.
Fishbein, M., & Ajzen, I. (2010). Review of predicting and changing behavior: The reasoned action approach. New York: Psychology Press, Taylor & Francis Group.
Kotler, Philip, & Keller, Kevin Lane. (2012). Marketing management: The millennium (14th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Marketingoops. (2017). สถิติชี้! คนไทยมั่นใจชำระเงินผ่าน E-payment มากขึ้น บอกถือเงินสดนั้นทั้งอันตรายทั้งไม่สะดวก. สืบค้น 6 สิงหาคม 2563, จาก www.marketingoops.com/reports/behaviors/thai-choose-to-pay-through-e-payment-more/
McKinsey & Company (2019). Global banking practice global payments report 2019: Amid sustained growth, accelerating challenges demand bold actions. McKinsey & Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น