วิถีชีวิตปกติแบบใหม่ภายหลังการระบาดใหญ่โควิด-19 : กรณีศึกษาธุรกิจยานยนต์และธุรกิจการบินกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ไทย
คำสำคัญ:
โควิด-19, ขนส่ง, โลจิสติกส์, ภาคธุรกิจ, ความปรกติรูปแบบใหม่บทคัดย่อ
โควิด-19 (COVID-19) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะ ผลกระทบต่อระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย โดยได้นำเสนอโมเดลหรือแบบจำลองของพฤติกรรมของผู้บริโภคภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 กับรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปของระบบขนส่งและโลจิสติกส์ โดยได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงระบบขนส่งและโลจิสติกส์ในธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และธุรกิจจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของไทยในอนาคต
วัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อศึกษาผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และธุรกิจจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน และวิเคราะห์ถึงแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปของการให้บริการโลจิสติกส์โดยได้มีการเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากการทบทวนวรรณกรรม รวมทั้งทำการสัมภาษณ์เชิงลึกธุรกิจกลุ่มเป้าหมายและจัดโฟกัสกรุ๊ปเพื่อประมวลและวิเคราะห์ผล โดยจะนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบกรณีศึกษาของสามธุรกิจเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการจัดซื้อจัดหาสินค้าของประชาชนและภาคธุรกิจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย จะส่งผลต่อภาคการผลิตและการให้บริการของประเทศจะต้องปรับตัวและตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ไทย รวมทั้งได้เสนอแนะแนวทางการปรับตัวและการตอบสนองในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานภาครัฐที่ต้องกำหนดนโยบายสามารถนำไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจในการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศ
References
ศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม, และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการวิจัยและวิชาการ. (2563). จำนวนผู้โดยสารกับการใช้บริการขนส่งทางอากาศตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 จนถึงเดือนมีนาคม 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม, และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการวิจัยและวิชาการ. (2563). ปริมาณผู้สัญจรโดยรถยนต์ส่วนบุคคลกับระบบขนส่งสาธารณะกับการเดินทางเข้า-ออกกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 จนถึงเดือนมีนาคม 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม, และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการวิจัยและวิชาการ. (2563). สถิติจำนวนผู้เดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 จนถึง 30 มีนาคม 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2563). การสรุปผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดอัตราการขยายตัวการสั่งของออนไลน์และประเภทของสินค้าออนไลน์ ก่อน-หลังการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิท-19. สืบค้น 10 มิถุนายน 2563, จาก http//:www.priceza.com
Alon, T., Doepke, M., Olmstead-Rumsey, J., & Tertilt, M. (2020). The impact of COVID-19 on gender equality. NBER Working Paper, 26914,1-37. Retrieved from http://www.nber.org/papers/w26947
Baker, Scott R., Farrokhnia, R. A., Meyer, Steffen, Pagel, Michaela, & Yannelis, Constantine. (2020). How does household spending respond to an epidemic? consumption during the 2020 COVID-19 pandemic. NBER Working Paper No. 26949.
Sekaran, Uma. (1992). Research methods for business (2nd ed.). New York: Wiley Press.
Theppitak, T. (2007). Logistics and supply chain management. Bangkok: Expertnet Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น