การศึกษาข้อมูลเชิงลึกด้านพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของผู้บริโภค และความเข้าใจส่วนผสมทางการตลาดบริการ ( 7P’s) สำหรับหลักสูตรระยะสั้นด้านทักษะดิจิทัล
คำสำคัญ:
ข้อมูลผู้บริโภคเชิงลึก, พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล, ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s), ทักษะดิจิทัล, หลักสูตรอบรมระยะสั้นบทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภควัยทำงาน (Customer Insights) ในด้านพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลในวิชาชีพ และ ด้านความเข้าใจในส่วนผสมทางการตลาดบริการ (7P’s) สำหรับหลักสูตรระยะสั้นด้านทักษะดิจิทัล ทั้งหมด 15 คน ที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดสาขาที่จบการศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญของดิจิทัล เพื่อต่อยอดทักษะในการทำงาน หรือสนใจเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้กับตัวเอง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ในการวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีทักษะด้านดิจิทัล ด้านการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาช่วยให้การทำงานปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาหรือต่อยอดงานที่ทำอยู่ มีทักษะการสร้างผลิตเนื้อหาและการสื่อสาร สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ในการทำการตลาดออนไลน์ซึ่ง เป็นทักษะทางดิจิทัลที่มีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพ ในส่วนของส่วนผสมทางการตลาดบริการ (7P’s) พบว่า ผลิตภัณฑ์หลักสูตรระยะสั้นด้านทักษะดิจิทัลต้องตอบโจทย์ความต้องการเชิงเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้น สามารถจัดการเรียนการสอนได้ทั้งรูปแบบออนไลน์ และ ออฟไลน์ ควรมีราคาโปรโมชั่นพิเศษ วิทยากรมาจากหน่วยงานภายนอกที่ได้รับการยอมรับ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่รวดเร็วไม่ใช้ระยะเวลานานทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจมากที่สุด และที่สำคัญการประชาสัมพันธ์หลักสูตรควรสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อออนไลน์ เช่น Line และ Facebook ควรวางแผนการลงโฆษณา ช่วงเวลาที่จะลง ใช้หลักการทำ Social Media Management
References
เติมสิริ ขำทอง. (2560). ข้อมูลผู้บริโภคเชิงลึก (Consumer Insight) ของการโหยหาอดีต ในการเดินทางโดยรถไฟของนักท่องเที่ยวชาวไทย (การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ). สืบค้น 22 กรกฎาคม 2563, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802031640_5253_4030.pdf
ทีมข่าวคุณภาพชีวิต-สังคม. (2563, 13 มกราคม). ดัน Non-Degree ตอบโจทย์ประเทศ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมฯ. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้น 16 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/861704
ไทเกอร์. (2563). การตลาดดิจิตอล – ประเภทกับช่องทาง digital marketing. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2563, จาก https://thaiwinner.com/digital-marketing/
ธนาคารกรุงเทพ. (2563). 10 ทักษะที่ digital marketing ควรมี. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/digital-marketing-skills
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
วัชรพล วงษ์ไทย. (2563). อว. ผนึกกำลังภาครัฐ และเอกชนสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตร (No-degree) เพื่อยกระดับทักษะกำลังคนของประเทศ. สืบค้น 20 มิถุนายน 2563, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/news-and-announce-all/news-all/1023-2020-02-24-08-15-18.html
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2563). การรู้ดิจิทัลคืออะไร. สืบค้น 10 มิถุนายน 2563, จาก https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/854-zxfdgsdgs
โสภิณ ปิยชาติ, และจินพล จิยะจันทร์. (2561). รูปแบบกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการตลาดมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 233-248. สืบค้น 16 มิถุนายน 2563, จาก https://dtc.ac.th/wpContent/uploads/2019/04/14.%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%...pdf
สุภางค์ จันทวนิช. (2554). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Booms, B. H., & Bitner, M. J. (1981). Marketing strategies and organization structures for service firms. In Donnelly, J. H., & George, W. R. (Eds.), Marketing of services, American Marketing Association (pp. 47-51). Chicago, IL.
Florin, D., Callen, B., Pratzel, M., & Kropp, J. (2007). Harnessing the power of consumer insight. Journal of Product & Brand Management, 16(2), 76-81.
Kotler, P. (1976). Marketing management (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ.: Prentice-Hall.
Marketing Association of Thailand. (2563). ข้อมูลผู้บริโภคเชิงลึก. สืบค้น 16 มิถุนายน 2563, จาก https://www.marketingthai.or.th/knowledge-customer-insights/
Rafiq, M., & Ahmed, P. K. (1995). Using the 7Ps as a generic marketing mix: An exploratory survey of UK and European marketing academics. Marketing Intelligence & Planning, 13(9), 4-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น