ความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของประชาชนวัยทำงาน กรุงเทพมหานคร ในยุค Digital Transformation
คำสำคัญ:
ความพร้อมรับการการเปลี่ยนแปลง, ปัจจัยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ยุค Digital Transformationบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพร้อมรับการการเปลี่ยนแปลงของประชาชนวัยทำงาน กรุงเทพมหานคร ในยุค Digital Transformation 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีต่อความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ของประชาชนวัยทำงาน ในกรุงเทพมหานคร ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชาชนวัยทำงานกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนวัยทำงาน กรุงเทพมหานคร มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทัศนคติ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง สามารถอธิบายการผันแปรความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงองค์การในยุค Digital Transformation ได้ร้อยละ 65.8 (R2 = 65.8) โดยด้านวัฒนธรรมมีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความร่วมมือและความไว้ใจ และด้านรางวัล ตามลำดับ และพบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามารถอธิบายการผันแปรความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงองค์การในยุค Digital Transformation ได้ร้อยละ 59.8 โดยด้านการกระตุ้นทางปัญญามีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ตามลำดับ
References
กฤตภาส แย้มนาม. (2560). อุปสรรคและแนวทางการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัลของธุรกิจครอบครัวขนาดกลางและขนาดย่อม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โกศล จิตวิรัตน์. (2561). โมเดลการปรับตัวขององค์การธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการทำลายล้างของเทคโนโลยีดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 (รายงานผลการวิจัย). วารสารสมาคมนักวิจัย ,23(2), 74-88.
เขมณัฐ ภูกองไชย. (2556). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาองค์การและการจัดการเชิงกลยุทธ์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2563, จาก http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/17.15ll1ZNZ28J68Rle8.pdf
ชลธิชา ทิพย์ประทุม, จิราวรรณ คงคล้าย, และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2560). บทบาทของรางวัลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ,11(1), 190-201.
นิรันดร์ แสงสุวรรณวาว, อุทัย เลาหวิเชียร, สุวรรณี แสงมหาชัย, และพัด ลวางกูร. (2561). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงองค์การภาครัฐภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 5(1), 68-78.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ปณิธี อำพนพารัตน์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรสายวิชาการ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง. (2560, 5 พฤศจิกายน). เหตุใดจึงเลือก Digital Transformation มาเป็นแนวคิดในการทำEducation Transformation ใน MonsoonSIM Seminar 2017. สืบค้น 15 สิงหาคม 2563, จาก https://www.monsoonsimthailand.com/related-topic-to-seminar-theme/-digital-transformation-education-transformation-monsoonsim-seminar-2017
สำนักงาน ก.พ. (2562). Digital literacy project. สืบค้น 17 ตุลาคม 2563, จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp
สุภนาถ โมฬีรัตตะกูล. (2557). การปรับโครงสร้างองค์การเพื่อรองรับการขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน +3 ตามกรอบแนวคิดของ McKinsey ของธนาคารพานิชย์แห่งหนึ่ง (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อาภาพร ตั้งภักดีตระกูล. (2559). ความสัมพันธ์ของ ความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การและพฤติกรรมต่อต้านการปฎิบัติงาน โดยมีทุนทางจิตวิทยาเป็นตัวแปรกำกับ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุษณีย์ พรหมศรียา. (2555). ความพร้อมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดปทุมธานีในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
M Report. (2562, 11 กุมภาพันธ์). อุตสาหกรรมไทยอยู่อย่างไรให้รอด ในยุค “Disruptive Technology”. สืบค้น 30 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.mreport.co.th/news/industry-movement/010-Industry4-Digital-DisruptiveTechnology
Holt, D. T., Armenakis, A. A., Feild, H. S., & Harris, S. G. (2007). Readiness for organizational change: the systematic development of a scale. The Journal of Applied Behavioral Science, 43(2), 232–255. Retrieved from https://doi.org/10.1177/0021886306295295
Soumyaja, D., Kamlanabhan, T. J., & Bhattacharyya, S. (2015). Antecedents of employee readiness for change:mediating effect of commitment to change (Research report). Retrieved 13 August 2020, from http://www.msaes.org/
Ovidijus Jurevicius. (2013, December). McKinsey 7s Model. Retrieved 30 November 2020, from https://strategicmanagementinsight.com/tools/mckinsey-7s-model-framework.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น