การศึกษากลยุทธ์การเนื้อหาการตลาดและกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์ บน FACEBOOK FANPAGE ของ ผู้ให้บริการถ่ายทอดสดเกมส์ออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ชุติมา เกศดายุรัตน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การตลาดเนื้อหา, กลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์, การสื่อสารการตลาดดิจิทัล, สื่อสตรีมมิ่ง, เกมออนไลน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษา ประเภท และ วัตถุประสงค์ ของกลยุทธ์เนื้อหาการตลาดบน Facebook Fanpage และกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ให้บริการถ่ายทอดสดเกมส์ออนไลน์ (A Streaming Service) กับ กลุ่มผู้เล่นเกมส์ออนไลน์แบบถ่ายทอดสด (Streamers) ผู้สนับสนุนทีม (Followers) และ ผู้สนับสนุนการแข่งขัน (Sponsors) จำนวนโพสต์ทั้งสิ้น 65 โพสต์ ระหว่างช่วงเดือน พฤศจิกายน 2563 ถึงมกราคม 2564 ประมวลผลข้อมูลโดยใช้การศึกษาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จาก ผลการวิจัยพบว่า ประเภทของเนื้อหาการตลาดที่พบบน Facebook Fanpage ของ ผู้ให้บริการถ่ายทอดสดเกมส์ออนไลน์ มีทั้งหมด 5 ประเภท ตามลำดับได้แก่ 1. Real time content 2. Video content 3. Album content 4. Promotional content 5. Question & Opinion content ในส่วนของ วัตถุประสงค์ของการทำ content strategy ประเภทต่างๆ บน Facebook Fanpage ของ ผู้ให้บริการถ่ายทอดสดเกมส์ออนไลน์ ได้แก่ 1. การให้ความบันเทิง เนื้อหาที่เน้นอารมณ์เป็นหลัก และ 2. การโน้มน้าวใจ เนื้อหาที่ โน้มน้าวใจให้เกิดการตัดสินใจซื้อด้วยเหตุผลเป็นหลักไม่เน้นสร้างการรับรู้ ในส่วนของกลยุทธ์การรักษาความสัมพันธ์ผลการวิจัยพบ 7 กลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์ ได้แก่ 1. การมีปฏิสัมพันธ์ในด้านบวก 2. กลยุทธ์การให้ความร่วมมือ 3. เครือข่ายทางสังคม 4. การเข้าถึง 5.กลยุทธ์ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย 6. การทำให้เชื่อมั่น 7. กลยุทธ์การบูรณาการ

References

กรมควบคุมโรค, ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน. (2563). รายงานสถานการณ์ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 319 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2564, จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no319-171163n.pdf

ธนพร ชมภู. (2564). สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าต้องการให้ธุรกิจ E-Commerce ของคุณประสบความสำเร็จในปี 2021. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://thegrowthmaster.com/blog/ecommerce-2021

ธนาคาร เลิศสุดวิชัย. (2563). Content matrix. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://digitalmarketingwow.com/2019/03/20/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C/

สุภางค์ จันทวนิช. (2554). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Grunig, J. E., & Huang, Y. (2000). From organizational effectiveness to relationship indicators: Antecedents of relationships, public relations strategies and relationship outcomes. In J. A. Ledingham and S. D. Bruning, (Eds.), Public relations as relationship management: a relational approach to public relations (pp. 23-53). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Hon, L. C., & Grunig, J. E. (1999). Guidelines for measuring relationships in public relations. Gainesville, FL: The Institute for Public Relations.

Hung, C. F., & Chen, Y.-R. R. (2009). Types and dimensions of organization–public relationships in greater China. Public Relations Review, 35(3), 181–186. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.pubrev.2009.04.001

Ki, E. J. (2003). Relationship maintenance strategies on websites (master’s thesis). Gainesville, FL: University of Florida.

Marketing Oops. (2563). ปรับตัว New Normal ในยุคเทคฯ ดิจิทัล. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.marketingoops.com/digital-transformation/10-new-normal-tech-digital-tools/

STEPS Academy. (2560). ประเภทของ Content marketing. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://stepstraining.co/social/content-marketing-boost-facebook-engagement

Yang, S. U. (2005). The effect of organization-public relationships on organization reputation from the perspective of publics (Doctoral dissertation). University of Maryland, College Park.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29