การศึกษาการใช้สื่อออนไลน์เพื่อความเป็นพลเมืองพลังสร้างสรรค์ (Active Citizenship) ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คำสำคัญ:
การใช้สื่อออนไลน์, ความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21, นิสิตคณะสังคมศาสตร์บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาการใช้สื่อออนไลน์เพื่อความเป็นพลเมืองพลังสร้างสรรค์ (Active Citizenship)
ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการใช้สื่อออนไลน์เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองพลังสร้างสรรค์ (Active Citizenship) ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนานิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สู่ความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ (Active Citizenship) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยการสุ่มคัดเลือกแบบอาสาสมัคร สำหรับวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 100 คน และสำหรับวิจัยเชิงคุณภาพทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนิสิตจำนวน 20 คน คณาจารย์ผู้สอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 15 คนและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานด้านกิจกรรมนิสิตของคณะสังคมศาสตร์ จำนวน 5 คน วิธีการที่ใช้คือการสอบถามข้อมูลและการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ตอน คือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์คำหลัก ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตมีพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์บนพื้นฐานของกฎหมายและกติกาของสังคมมากที่สุด รองลงมาคือการใช้สื่อออนไลน์ด้วยความเคารพสิทธิและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น การใช้สื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และสร้างประโยชน์แก่สังคมและใช้สื่อออนไลน์เพื่อการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสังคม 2) แนวทางการพัฒนานิสิตสู่ความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ มี 5 แนวทาง คือ 1) การใช้สื่อออนไลน์อย่างถูกต้อง 2) มีวิจารณญาณในการใช้สื่อออนไลน์ 3) การได้รับการสนับสนุนจากคณะและมหาวิทยาลัยในการทำกิจกรรมต่างๆ 4) การใช้สื่อออนไลน์บนพื้นฐานของกฎหมาย 5) การใช้สื่อออนไลน์เพื่อการขับเคลื่อนสังคม
References
กันตพล บรรทัดทอง. (2557). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1298
เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคทางออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1883
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. นานมีบุ๊คส์.
พัฒนา ชัชพงศ์. (2541). ทฤษฏีและปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ ประสานมิตร.
มธุรส ประภาจันทร์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการสอนอ่านและวินิจฉัยการอ่านสำหรับครูระดับปฐมศึกษาตอนต้น [ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swudis/Cur_Re_Dev/Mathuroth_P.pdf
ระวิ แก้วสุกใส, และ ชัยรัตน์ จุสาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณีเฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(4), 195-205.
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2554, 3 มีนาคม). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. มติชน.
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2557). รายการเด็ก สิทธิเด็ก และการโฆษณา. ใน ชิษณ์ชญา ตั้งพรพิพัฒน์ และ ณัฐพรรณ แย้มแขไข (บก.), Kidchen สูตรเด็ดรายการเด็ก: คู่มือผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก (น. 18-19). ผู้แต่ง.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564, 9 เมษายน). ETDA เผยผลสำรวจ IUB 63 คนไทยใช้เน็ตปังไม่ไหวเกือบครึ่งวัน โควิด-19 มีส่วน. https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx
สำนักงานราชบัณฑิตสภา. (2556). บทวิทยุรายการ รู้รัก ภาษาไทย. ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-พ.ศ. 2579). พริกหวานกราฟิก.
อรนุช ลิมตศิริ. (2556). หลักสูตรและการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. NIDA Wisdom Repository. http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/519
Hoskins, B., Jesinghaus, J., Mascherini, M., Munda, G. Nardo, M., Saisana, M., Van Nijlen, D., Vidoni, D., & Villalba, E. (2006). Measuring active citizenship in Europe. Publications Office. https://op.europa.eu/s/xXBf
Campbell, D. (1998). Writing security: United States foreign policy and politics of identity. Manchester University Press.
Gagne, R. M. (1965). The psychological basic of science: A process approach AAAS. Miscellancaus.
Glassman, M. (2012). Occupying the noosystem: The evolution of media platforms and webs of community protest. Berkeley Planning Journal, 25, 198-209. https://doi.org/10.5070/BP325111730
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น