ปัจจัยการส่งเสริมในการสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของแรงงานนอกระบบ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • มัณฑนา มหาบุญญนนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • เบญจวรรณ เบญจกรณ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

จังหวัดเชียงราย, ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยอนามัย, ผู้ประกันตนมาตรา 40

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการส่งเสริมในการสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของแรงงานนอกระบบ ในจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน จำนวน 4 คน และวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และมีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่งเสริมในการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เป็นอันดับแรก คือ ปัจจัยอนามัย ด้านความมั่นคงในการทำงาน รองลงมาคือ ปัจจัยจูงใจ ด้านอัตราการนำส่งเงินสมทบ ปัจจัยอนามัย ด้านชีวิตส่วนตัว ปัจจัยจูงใจ ด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านบุคลากรสำนักงานประกันสังคม ตามลำดับ และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยการส่งเสริม ด้านปัจจัยอนามัยที่มีความสัมพันธ์กับการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ของแรงงานนอกระบบ จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ด้านตำแหน่งงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านสภาพการทำงาน และด้านค่าตอบแทน  ส่วนปัจจัยการส่งเสริม ด้านปัจจัยจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ของแรงงานนอกระบบ จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านความสะดวกในการเข้ารับบริการ ด้านบุคลากรสำนักงาน และด้านอัตราการนำส่งเงินสมทบ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Author Biography

เบญจวรรณ เบญจกรณ์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

References

ดารณี เทียนเครือ. (2558). การรับรู้และความคิดเห็นต่อการประกันสังคม มาตรา 40 ของแรงงานนอกระบบ ในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธมนวรรณ บุญรักษา. (2556). การตัดสินใจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2542 มาตรา 40 ของแรงงานนอกระบบในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัญญาภร วงศ์ฉายา, เล็ก สมบัติ, และ สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์. (2558). การรับรู้และการตัดสินใจเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของผู้ประกอบอาชีพอิสระ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดแพร่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชญ์สินี ศรีเดช. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจสมัครประกันสังคม มาตรา 40 ของผู้ทำงานที่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รวิวรรณ วัฒนพาณิช. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีต่อการประกันสังคมตามมาตรา 40 ศึกษากรณี ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ในพื้นที่เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 5(2), 69–73.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). การบริหารการตลาดแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

สัญญา จันทร์รอด, ทัศนีย์ ปัทมสนธิ์, และ ธนัช กนกเทศ. (2559). แนวทางส่งเสริมการดำเนินงานขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานอกระบบ ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการ ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1 (น. 1023–1032).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจแรงงานนอกระบบ 2562. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. สืบค้นจากhttp://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/labour/informalEmployment/2019/2562_workerOutSum.pdf

Fokoue, E., & Gunduz, N. (2015). An information-theoretic alternative to the Cronbach’s Alpha Coefficient of item reliability. British Journal of Mathematics & Computer Science, 15(1).

Herzberg, F. (1993). Motivation to work (Rev. ed.). New York: Routledge.

Turner, R., & Carlson, L. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. International Journal of Testing, 3, 163–171.

Unni, J., & Rani, U. (2003). Social Protection for Informal Workers: Insecurities, Instruments and Institutional Mechanisms. Development and Change, 34, 127-161.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30