องค์การแห่งความสุข: มุมมองจากอาจารย์มหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พงศกร ศรีรงค์ทอง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

องค์การแห่งความสุข, องค์กรแห่งความสุข , ความสุขในการทำงาน, อาจารย์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาความหมายและองค์ประกอบขององค์การแห่งความสุขจากมุมมองของอาจารย์มหาวิทยาลัย และเพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างองค์การแห่งความสุขที่สอดคล้องกับความต้องการของอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มผู้บริหารระดับคณะจำนวน 3 คน และกลุ่มอาจารย์ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปและปฏิบัติงานอย่างน้อย 2 ปี จำนวน 10 คน มีการสังเกตและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา แบบจัดหมวดหมู่ประเด็นสำคัญ เพื่อให้ความหมาย ตีความ วิเคราะห์ และอธิบายความคิดเห็นของอาจารย์มหาวิทยาลัยต่อความหมายขององค์การแห่งความสุข ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้บริหารและอาจารย์มีความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งความสุข โดยให้ความหมายว่าคือองค์การที่บุคลากรทุกคนทุกระดับในองค์การมีความสุข และต้องประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดเป็นองค์การแห่งความสุข ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัย 4 ด้าน คือด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านการบริหาร (ผู้บริหารและนโยบาย) ด้านความสัมพันธ์ในที่ทำงาน และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ส่วนแนวทางการสร้างองค์การแห่งความสุขนั้นต้องเลือกให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การและสอดคล้องกับปัจจัยทั้ง 4 ด้าน โดยมีการวางแผนร่วมกันในการจัดกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของคนในองค์การเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของบุคลากรในองค์การ รวมทั้งมีการสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรและประเมินความสำเร็จในการดำเนินงานร่วมด้วย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ก้านทอง บุหร่า. (2560). องค์กรแห่งความสุข: แนวคิด กระบวนการ และบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(3), 169-176. สืบค้นจาก https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/view/1067/1019

จุฑามาศ แก้วพิจิตร วิชัย อุตสาหจิต, และ สมบัติ กุสุมาวลี. (2554). ความสุขหลากมุมมองด้วย HOME Model. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์, จุลัยวรรณ ด้วงโคตะ, และ นพพร ทิแก้วศรี. (2556). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. นนทบุรี: สองขาครีเอชั่น.

ธัมมัฏฐิตตา อยู่เจริญ, และ เจษฎา อังกาบสี. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจขององค์กรแห่งความสุข: กรณีศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 10(1), 34-68. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HRODJ/article/view/133411/100021

บุรินทร์ เทพสาร, และ อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 83-96. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107391/84986

เบญจวรรณ มาลัยรุ่งสกุล. (2552). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/30684

พิกุล พุ่มช้าง, และ ปริญญา มีสุข. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถาบันการศึกษาไทย. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 647-663. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/97400/75880

รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุข กรณีศึกษา นักศึกษาภาคพิเศษ ระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นจาก http://library1.nida.ac.th/termpaper5/hrd/2550/19317.pdf

รุ่งนภา ชุณหวรชัย. (2556). แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข “คึกฤทธิ์อาร์คิเทค” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=92&RecId=47809&obj_id=606833&showmenu=no&userid=0

สมสินธ์ รักบุญ, และ อำนวย ทองโปร่ง. (2563). การบริหารโรงเรียนเทศบาลเพื่อให้เป็นองค์กรแห่งความสุข. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(2), 310-320. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/150127/167775

สิรินทร แซ่ฉั่ว. (2553). ความสุขในการทำงานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสื่อและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นจาก http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2553/b168274.pdf

อธิคุณ สินธนาปัญญา, อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์, ราชันย์ บุญธิมา, และ วีระ สุภากิจ. (2557). การบริหารความสุขในสถานศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(88), 15-32. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/244771/166374

Burton, J. (2010). WHO healthy workplace framework and model: Background and supporting literature and practices. Switzerland: World Health Organization. Retrieved from http://www.who.int/

Lowe, G. S. (2004). Healthy workplace strategies: Creating change and achieving results. USA: The Graham Lowe Group. Retrieved from http://www.mentalhealthpromotion.net/resources/healthy-workplace-strategies.pdf

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-659. Retrieved from https://doi.org/10.1097/00005110-200312000-00008

Martin, A. J., Jones, E. S., & Callan, V. J. (2005). The role of psychological climate in facilitating employee adjustment during organizational change. European Work and Organizational Psychology, 14(3), 263-289. Retrieved from https://doi.org/10.1080/13594320500141228

McMurray, A., Pirola-Merlo, A., Sarros, J., & Islam, M. (2010). Leadership, climate, psychological capital, commitment, and wellbeing in non-profit organization. Leadership & Organization Development Journal, 31(5), 436-457. Retrieved from https://doi.org/10.1108/01437731011056452

Warr, P. (2007). Searching for happiness at work. The Psychologist, 20(12), 726-729. Retrieved from https://thepsychologist.bps.org.uk/volume-20/edition-12/searchinghappiness-work

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30