การสื่อสารการตลาดดิจิทัลเพื่อสร้างการรับรู้ของ OTOP นวัตวิถี บ้านพุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี

ผู้แต่ง

  • สวิตา อยู่สุขขี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • อรคนางค์ นวลเจริญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาด, การตลาดดิจิทัล, การรับรู้, โอทอปนวัตวิถี, บ้านพุแค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารการตลาดดิจิทัลเพื่อสร้างการรับรู้ของ OTOP           นวัตวิถี บ้านพุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี และศึกษาแนวทางในการพัฒนาการสื่อสารการตลาดดิจิทัลเพื่อสร้างการรับรู้ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาวิจัย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ ประชาชนในชุมชน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกต และการสำรวจในพื้นที่ จากนั้นผู้วิจัยใช้การพรรณนาวิเคราะห์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเป็นการบรรยายความข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และการศึกษาข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการสื่อสารการตลาดดิจิทัลเพื่อสร้างการรับรู้ของ OTOP นวัตวิถี บ้านพุแค มีหลายรูปแบบ ประกอบด้วย 1) การสร้างข้อความหลักที่จะสื่อสารกับลูกค้า 2) การสร้างอัตลักษณ์ผ่านผู้ให้ข้อมูล และผลิตภัณฑ์ 3) การสร้างวัฒนธรรมของตลาด 4) การโฆษณา และประชาสัมพันธ์ด้วยคอนเทนต์ 5) การสื่อสารการตลาดโดยผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ 6) การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ 7) การลงโฆษณาบนเฟซบุ๊ก 8) การออกแบบสื่อดิจิทัลด้วยกราฟิกที่ทันสมัย และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สำหรับแนวทางในการพัฒนาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ได้แก่ การสร้างความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ มีจุดขายที่ชัดเจน ให้กับสถานที่ และผลิตภัณฑ์ การเพิ่มช่องทางการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การเพิ่มช่องทางการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ และ ความสามารถในการปรับตัวให้เท่าทันเทรนด์ของการเปลี่ยนแปลง และเทคโนโลยีใหม่ๆ 

References

กระทรวงมหาดไทย, กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). แนวทางการดำเนินงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. สืบค้นจาก https://plan.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/97/2018/08/manual100661-1.pdf

กฤษติญา มูลศรี. (2562). นวัตกรรมและการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences, 8(2), 36-62. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MFUconnexion/article/download/241036/164108/

กุลวดี กันหาเรือง. (2559). การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการรับรู้การบริโภคของแรงงานต่างด้าวในร้านค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารปาริชาต, 28(2), 48-65. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/download/43185/35686

ชัญญพัชญ์ วงษ์วิวัฒน์. (2562). รูปแบบการสื่อสาร กลยุทธ์ และจริยธรรมการตลาดผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นจาก http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1600161712.pdf

ณพัฐอร ฐิติฐาน์เดชน์, และ ธรรญธร ปัญญโสภณ. (2564). ประสิทธิผลการสื่อสารการตลาดดิจิทัลบน Facebook Ads และ Google Ads กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เอสเซนซ์บำรุงผิว บริษัท เฟซแลบส์ (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารสหศาสตร์, 21(1), 120-135. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/244543/168743

ดุษฎี แซ่แต้, และ จันทนา แสนสุข. (2564). การสื่อสารการตลาดโดยผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภายใต้การยอมรับเทคโนโลยีของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 45-63. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/download/249708/168935/

ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2557). สื่อดิจิทัลกับการดํารงชีวิต. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์วังอักษร.

ธีระวัฒน์ จันทึก, จิตพนธ์ ชุมเกตุ, ชิษณุพงศ์ ศิริโชตินิศากร, ระชานนท์ ทวีผล, และ ธนพัฒน์ อินทวี. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น สําหรับยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนหมู่บ้านไทยมุสลิม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 454-475. สืบค้นจาก https://bit.ly/3PPhCgh

นักรบ นาคสุวรรณ์. (2559). วัฒนธรรมการบริการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 283-295. สืบค้นจาก https://dtc.ac.th/wp-content/uploads/2018/11/20.-วัฒนธรรมการบริการ.pdf

ประวีณา พลเขตต์, และเจษฎา ศาลาทอง. (2561). การรับรู้และการรู้เท่าทันสื่อของผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 4(3), 47-62. สืบค้นจาก http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1538712267.pdf

พงศกร รัตนวราหะ, และดารณี พิมพ์ช่างทอง. (2561). ลักษณะของสื่อและการเข้าถึงสื่อที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ข่าวสารผ่านป้ายโฆษณาดิจิทัล กรณีศึกษาร้านกาแฟสดระดับกลาง. สุทธิปริทัศน์, 32(103), 148-159. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/download/243646/165340/

ภารดี เทพคายน. (2564). การศึกษาระดับการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ต่อนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นจาก https://www.km.nida.ac.th/th/images/PDF/research/paradeere164.pdf

ภูริช นุสิทธิ์ชัยการ, และปฐมา สตะเวทิน. (2561). ประสิทธิผลแบรนด์เนอร์แอด (Banner Ads) บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก กรณีศึกษาแบตเตอรี่สำรองฉุกเฉินแบรนด์ Zuperzup. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561, 2232-2241. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต. สืบค้นจาก https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/rgrc/article/download/775/542/

วิไลภรณ์ สำเภาทอง. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจผลิตภัณฑ์เวชสำอาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2062/1/60602711.pdf

ศุภเชษฐ์ เศรษฐโชติ. (2560). การนำเสนอการตลาดเชิงเนื้อหาบนสื่อดิจิทัลและความตั้งใจรับประทานอาหารคลีน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2981/1/suppachet_sett.pdf

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (15 ธันวาคม 2564). Foresight. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx

สุธาวัลย์ เวพีวุฒิกร, และชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2564). การสื่อสารการตลาดรูปแบบดิจิทัลของร้านค้าออนไลน์ Shopee ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 34(1), 76-88. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/download/240729/169903/886505

สุภางค์ จันทวานิช. (2556). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หัสยา อินทคง. (2560). คุณภาพบริการ คุณภาพผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ราคาและคุณลักษณะของร้านค้า ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีต่อร้านค้าปลีกสินค้าออร์แกนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3897/1/hutsaya_inth.pdf

อริสรา ไวยเจริญ. (2558). การโฆษณากับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 9(1), 11-35. สืบค้นจาก https://commarts.dpu.ac.th/journal/upload/issue/QuZRsOFkaS.

Meta. (2565). วัตถุประสงค์ของโฆษณาบน Facebook. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/business/ads/ad-objectives

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th ed.). England: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30