ผลความสำเร็จของการบริการทรัพยากรร่วมกันในโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง

ผู้แต่ง

  • ณภัทร์พร รอดชะ หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ปิยะวิทย์ ทิพรส วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุรวี ศุนาลัย วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ผลความสำเร็จของการบริการทรัพยากรร่วมกัน, ความสามารถของการบริการทรัพยากรร่วมกัน, สมรรถนะขององค์การ, องค์ประกอบของการบริการทรัพยากรร่วมกัน, กรอบแนวคิดแมคคินซีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลความสำเร็จของการบริการทรัพยากรร่วมกันในโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่พัฒนาขึ้นตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุของปัจจัยการบริหารจัดการด้วยกรอบแนวคิดของแมคคินซีย์ สมรรถนะขององค์การ  ความสามารถของการบริการทรัพยากรร่วมกัน ที่มีต่อผลความสำเร็จของการบริการทรัพยากรร่วมกันในโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีองค์ประกอบของการบริการทรัพยากรร่วมกันเป็นตัวแปรส่งผ่าน ด้วยแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากบุคลากรระดับหัวหน้าฝ่าย/แผนกขึ้นไป จำนวน 460 คน ในโรงพยาบาลเอกชนของบริษัทที่จดทะเบียนหมวดธุรกิจการแพทย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวม 93 แห่ง ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2565

การวิจัยได้ข้อค้นพบว่า 1) ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างของปัจจัยที่พัฒนาขึ้นตามสมมติฐาน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  2) การบริหารจัดการด้วยกรอบแนวคิดแมคคินซีย์ และความสามารถของการบริการทรัพยากรร่วมกันมีอิทธิพลต่อองค์ประกอบการบริการทรัพยากรร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญ  ในทำนองเดียวกัน การบริหารจัดการด้วยกรอบแนวคิดแมคคินซีย์ และความสามารถของการบริการทรัพยากรร่วมกัน และองค์ประกอบของการบริการทรัพยากรร่วมกันยังมีอิทธิพลต่อผลความสำเร็จของการบริการทรัพยากรร่วมกันของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.01)

References

กองบรรณาธิการ Techno & InnoMag. (2555). เบื้องหลังนวัตกรรม Mobile Workforce เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ. Innomag, 39(222), 49-52. https://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/tn222B_p049-52.pdf

กิรติพงษ์ ปัญญาเรือง, และ สันติธร ภูริภักดี. (2559). กลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีต่อผลความสำเร็จในการดำเนินงานตามแนวคิด Balance Scorecard [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/932

ชัยสิงห์ ทองเกื้อ, และ ทวีป พรหมอยู่. (2563). ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจการค้าชายแดนไทยในจังหวัดระนอง. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 5(ฉบับเพิ่มเติม), 31-42.

ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์. (2561). นวัตกรรมการบัญชีบริหารและความสำเร็จของธุรกิจ ISO ในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(2), 161-170. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/97222/112027

ณัฐพล วุฒิรักขจร. (2562). โรงพยาบาลเอกชน. ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. https://www.gsbresearch.or.th/gsb/published-works/economic-and-business-research/6697/

ธุรกิจโรงพยาบาลเดือด งัดสงครามราคาชิงคนไข้ในประเทศ. (2564, 2 มกราคม). ประชาชาติธุรกิจ. https://www.prachachat.net/marketing/news-584340

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล:สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 9). ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูลสุข นิลกิจศรานนท์. (2563, 2 กันยายน). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2563-65: ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Services/Private-Hospitals/IO/io-Private-Hospitals

สาธิต วิทยากร. (2561, 24 สิงหาคม). บริหาร “Shared Services” ผนึกพันธมิตรลดต้นทุน. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/120300

อมรศิริ ดิสสร. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ Balanced scorecard ของบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(1), 59-66. http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/125/99

Boroughs, A., & Saunders, J. (2007). Shared services the work for the business: Implementing shared service models that realize genuine business benefits. Strategic HR Review, 6(4), 28-31. https://doi.org/10.1108/14754390980000984

Gokdeniz, I., Kartal, C., & Komurcu, K. (2017). Strategic Assessment based on 7S McKinsey Model for a Business by Using Analytic Network Process (ANP). International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 7(6), 342-353. https://hrmars.com/papers_submitted/2967/Strategic_Assessment_based_on_7S_McKinsey_Model_for_a_Business_by_Using_Analytic_Network_Process_(ANP).pdf

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R., & Tatham, R. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Pearson Prentice Hall.

Janssen, M., & Joha, A. (2006). Motives for establishing shared service centers in public administrations. International Journal of Information Management, 26(2), 102-115. https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2005.11.006

Joha, A., & Janssen, M. (2014). Factors influencing the shaping of shared service business models: Balancing customization and standardization. Strategic Outsourcing: An International Journal, 7(1), 47-65. https://doi.org/10.1108/SO-10-2013-0018

Kamal, E. M., Haron, S. H., Ulang, N., & Baharum, F. (2012).. The critical review on the Malaysian construction industry. Journal of Economics and Sustainable Development, 3(13), 81-87. https://www.iiste.org/Journals/index.php/JEDS/article/view/3492/3517

Kennewell, S., & Baker, L. (2016). Benefits and risks of shared services in healthcare. Journal of Health Organization and Management, 30(3), 441-456. https://doi.org/10.1108/JHOM-03-2014-0044

Likert, R. (1970). New partterns of management. McGraw-Hill.

Positioning. (2550, 5 พฤศจิกายน). โรงพยาบาลเอกชน: รวมตัวเป็นเครือข่ายเสริมความเข็มแข็งธุรกิจ. https://positioningmag.com/37634

Pothiyadath, R., & Wesley, J. R. (2014). Developing a measurement scale for 7-S framework. IOSR Journal of Business and Management, 16(1), 14-16. https://www.semanticscholar.org/paper/Developing-a-Measurement-Scale-for-7-S-Framework-Pothiyadath-Wesley/515fc95dba7c64fc733670e418bdcac3d850cb34

Richter, P. (2021). Shared services: Configurations, dynamics and performance. Baltic Journal of Management, 16(4), 501-518. https://doi.org/10.1108/BJM-12-2020-0462

Wellever, A. (2001). Shared services: The foundation of collaboration. Academy for Health Services Research and Health Policy. https://www.ruralcenter.org/sites/default/files/Networking%20for%20Rural%20Health_9%202001_Shared%20Services%20the%20Foundation%20of%20Collaboration.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29