ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อประกันสุขภาพให้บุตร (ช่วงอายุ 1เดือน-10 ปี) บริษัทประกันชีวิต ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ดารารัตน์ ศรีเบญจรัตน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • เอนก ชิตเกษร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, ปัจจัยความไว้วางใจ, การตัดสินใจของผู้บริโภค, ประกันสุขภาพให้บุตร, เชียงใหม่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดบริการ ความไว้วางใจ และการตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพให้บุตร (ช่วงอายุ 1 เดือน-10 ปี) ของบริษัทประกันชีวิต ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ซื้อประกันสุขภาพให้บุตร (ช่วงอายุ 1 เดือน-10 ปี) ของบริษัทประกันชีวิต ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูลทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติแบบเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมมติฐาน โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการหาค่าสมการถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 50 ปีขึ้นไป ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 35,001 บาท ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญกับด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมาด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านความไว้วางใจ ให้ความสำคัญกับด้านการให้ความสะดวกสบาย รองลงมาด้านการสื่อสาร และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบ (b) ของตัวแปรทั้ง 2 ตัว คือ ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ 7 P’s (X1) มีค่าเท่ากับ 0.412 และปัจจัยความไว้วางใจ 5 C’s (X2) มีค่าเท่ากับ 0.202 ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Y) มาทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุคณู ด้วยวิธีเพิ่มหรือลดตัวแปรเป็นขั้น ๆ เมื่อทำการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติปรากฏว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกค่า โดยคะแนนจากตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวแปร นั้นสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Y) ได้คิดเป็นร้อยละ 60.50 ซึ่งได้จากค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) มีค่าเท่ากับ 0.605 และสามารถเขียนอยู่ในรูปสมการทำนายได้ดังนี้ Y = 2.347 + 0.412 X1 + 0.202 X2

 

 

References

กรมการปกครอง, สำนักบริหารการทะเบียน (2564). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน : ธันวาคม). https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/populationpyramid/changwat?year=2019&cw=50

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2549). ระเบียบวิธีวิจัย. โรงพิมพ์ครองช่าง.

จังหวัดเชียงใหม่, ไทย-สถิติ. (ม.ป.ป.). ZhujiWorld.com. https://th.zhujiworld.com/th/603502-chiang-mai-province/

ฐิติวรรณ หาจันดา, และ ศุภสัณห์ ปรีดาวิภาต. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพ กรณีศึกษาแบบประกันสุขภาพของบริษัท เมืองไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน) [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]. MBA Online Program. UTCC. http://utccmbaonline.com/ijbr/doc/(Edit)Id1266-28-04-2020_22:11:29.pdf

นัฏฐภัค ผลาชิต. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ผ่านช่องทางธนาคารกรุงไทย ภายในสำนักงานเขตปทุมธานี [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. https://searchlib.utcc.ac.th/library/onlinethesis/301269.pdf

นุชนาฏ ศรีนุกูล. (2557). พฤติกรรมและปัจจัยทางการตลาดในการซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์กรุงไทย อีซี่ แคช (10EC) ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช [การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์]. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ปวันรัตน์ เหลืองอรุณเลิศ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของลูกค้าบริษัทอเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัดในกรุงเทพมหาคร [การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปี 2564 ธุรกิจประกันชูประกันสุขภาพนำเทรนด์ คาดเศรษฐกิจพ่นพิษทำธุรกิจทรงตัว. (2564, 17 กุมภาพันธ์). https://www.tlaa.org/page_bx.php?cid=23&cname=&cno=1262

พีระชัย เกษตรพล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำประกันชีวิตผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภาคธุรกิจประกันชีวิตเผยตัวเลขไตรมาสแรก ปี 65. (2565, 12 พฤษภาคม). https://www.tlaa.org/page_bx.php?cid=23&cname=&cno=1419

วรารัตน์ สันติวงษ์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารต่อการใช้บริการ E-Banking. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mark/Vararat_S.pdf

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. พัฒนาศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (2564). สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ส่งผลต่อธุรกิจประกันชีวิต. https://www.oic.or.th/th/industry/statistic

อรุโณทัย ยวงวิภักดิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อประกันชีวิต: กรณีศึกษาลูกค้าธนาคารธนชาต ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. http://econ.eco.ku.ac.th/2016/is/IS%205736.pdf

อารนี ทองเจริญสุขชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ: กรณีเปรียบเทียบช่วงอายุของกลุ่มผู้ซื้อ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://doi.org/10.14457/tu.the.2017.619

Cochran, W. G. (1967). Statistical methods. The Iowa State University Press.

Hinkle, D. E, Willian, W., & Stephen G. J. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). Houghton Mifflin.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management (14th ed.). Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30