ความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลของปัจจัยในที่ทำงานต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน

ผู้แต่ง

  • พรพรหม ชมงาม ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงอิทธิพล, ระดับความพึงพอใจ, พนักงาน, ปัจจัยในที่ทำงาน, ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง ศึกษาระดับความพึงพอใจปัจจัยในที่ทำงานของพนักงานเอกชน รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลของปัจจัยในที่ทำงานต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ใช้แบบสอบถามเชิงโครงสร้างในเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน (การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ) ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยในที่ทำงานมีความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ค่าสัมประสิทธิ์พหุคูณ (R = 0.375) และ (F =24.181)  โดยมีตัวแปรที่สำคัญคือ ความเป็นธรรมขององค์การ (.350) ความพอเพียงของรายได้ (.276) ความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน (.259) สภาพการทำงาน (.251) ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างานและลูกน้อง (.249) และสวัสดิการขององค์การ (.221) ตามลำดับ

References

เกียรติคุณ พลเยี่ยม. (2556). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี]. ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. http://www.phothong101.go.th/data/Knowledge/Research/A%20STUDY%20OF%20THE%20MORALE%20.pdf

ธัญพร สินพัฒนพงค์ (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. ห้องสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902030070_7983_6531.pdf

สิรินาตย์ กฤษฎาธาร. (2552). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Akabas, K. S., & Kurzman, P. A. (2007). Work and The workplace: A resource for innovative policy and practice. Columbia University Press. https://doi.org/10.7312/akab11166

Boelkes, D. (2020). The wow factor workplace. Business World Rising.

Cohen, A. (2015). Fairness in the workplace: A global perspectives. Palgrave Macmillan.

Couser, G. P. (2008). Challenges and opportunities for preventing depression in the workplace: A review of the evidence supporting workplace factors and interventions. Journal of Occupational and Environmental Medicine, 50(4), 411–427. https://doi.org/10.1097/JOM.0b013e318168efe2

Davis, K. (1972). Human relations at work. McGraw-Hill.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation of work. John Wiley & Sons.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Mathis, R. J., & Jackson, J. S. (2002). Human resource management (10th ed.). Thomson Learning South Western.

Miller, K. (2012). Organizational communication: Approaches and processes (6th ed.). Wadsworth Cengage Learning.

Mowday, R. T., Porter, L. W., & Steer, R. M. (1982). Employee organization linkage: The psychology of commitment. Academic.

Muchinsky, P. M. (1993). Psychology applied to work: An introduction to industrial and organization psychology. Cole.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30