กระบวนการตัดสินใจเลือกสถานฟื้นฟูของญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
กระบวนการตัดสินใจ, ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, สถานฟื้นฟู, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจเลือกสถานฟื้นฟูของญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ และวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกสถานฟื้นฟูของญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลผ่านกลุ่มไลน์ 386 ตัวอย่าง โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติอนุมานด้วยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้รวมของครอบครัวแตกต่างกัน มีกระบวนการตัดสินใจแตกต่างกัน 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านกระบวนการ ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ และด้านผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจของญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). สามลดา.
จิดาภา หอจตุรพิธพร. (2562). กระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการเนอสซิ่งโฮมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. โครงการพิเศษของ MMM. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-7/6114152036.pdf
จีระวรรณ เวชสุวรรณมณี. (2565). การบริหารจัดการสถานบริบาลภาคเอกชน กรณีศึกษา: ศูนย์มุฑิตา เนอสซิ่งโฮม จังหวัดนครปฐม. Lawarath Social E-Journal, 4(2), 35-54.
ชยุต รัชตะวรรณ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นันต์ธิญา ภู่คุ้ม, ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย, และ สุพัทธ แสนแจ่มใส. (2564). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิพลังของผู้ใหญ่ตอนต้น : กรณีศึกษาบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. สุทธิปริทัศน์, 35(2), 147-163. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/251215/170984
นนทนัตถ์ รัตนกุญชร, และ พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการโรงพยาบาลรัฐแบบพรีเมี่ยมและโรงพยาบาลเอกชน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สุทธิปริทัศน์, 35(4), 55-73. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/254883/172718
บรรลุ ศิริพาพิช. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ 2562. พริ้นเทอรี่.
ปัณยสิตา วโรตมะกุล, และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของธุรกิจสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุ บริษัท ทีแอนด์ที เทคแคร์ จํากัด. การบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(5), 43-46. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/253006/175496
พศิน ชื่นชูจิตต์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการบ้านพักคนชราในยุค New normal [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4099
ภาวิณี กาญจนาภา, และ ประพล เปรมทองสุข. (2565). การเปรียบเทียบทัศนคติด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและนวัตกรรม กรณีศึกษาโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลทหารบก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(2), 211–222. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/254098/172262
รุ่งรัตน์ พละไกร. (2564, 14 มิถุนายน). การฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) เส้นทางกลับคืนสู่วิถีชีวิตที่ปกติอย่างมีสุขภาพ. TPAK. https://tpak.or.th/th/article/231
ฤทธิ์เจตน์ รินแก้วกาญจน์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และปัจจัยด้านการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2(1), 92-106. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ibas/article/view/170494/130015
วชิรวัชร งามละม่อม. (2558, 15 กันยายน). แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์. Media Learning of Public Administration. http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_11.html
วราวุฒิ เรือนคำ และ สุพรรณิการ์ ขวัญเมือง. (2563). พฤติกรรมและปัจจัยต่อการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 7(2), 39-56.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). ทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์. พัฒนาการศึกษา.
สุชาวดี ณรงค์ชัย. (2563). ความรู้ทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคสำหรับดูแลผิวพรรณและเส้นผมของผู้บริโภค [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. DSpace at Burapha University. http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/156
อรพิชญา ศรีวรรโณภาส. (2563, 1 ตุลาคม). โรคยอดฮิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ. รามาแชนแนล ขับเคลื่อนสังคมไทยให้สุขภาพดี. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/โรคยอดฮิตที่พบบ่อยในผู/
อุดม สุทธิพนไพศาล. (2563, 14 พฤศจิกายน). โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke). Medparkhospital. https://www.medparkhospital.com/content/stroke
อุทัยวรรณ สายพัฒนะ, และ ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2547). Collinearity. ปาริชาต, 17(1), 55-62. http://ir.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/5/1/article.pdf
A guide to different types of rehabilitation therapy. (2018, May 23). Integris Health. https://integrisok.com/resources/on-your-health/2018/may/a-guide-to-different-types-of-rehabilitation-therapy
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th Global ed.). Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น