แรงจูงใจที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • พัชรี เอี่ยมคล้าย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, กระบวนการตัดสินใจซื้อ, ประกันชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจและระดับของกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต รวมถึง 3) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตัวอย่างจากประชาชนที่มี อายุตั้งแต่ 20-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเคยซื้อประกันชีวิต จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วย Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า คนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแรงจูงใจในการซื้อประกันชีวิตในช่วงสถานการณ์โควิด-19  ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการอุปถัมภ์ รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านเหตุผล และด้านอารมณ์  ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีเพศและอาชีพที่แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแตกต่างกัน และยังพบว่าแรงจูงใจด้านเหตุผล ด้านอารมณ์ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการอุปถัมภ์ ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตในช่วงสถานการณ์โควิด-19  ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยตัวแปรทั้ง 4 สามารถอธิบายถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อได้ร้อยละ 72.60 การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจและระดับของกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต รวมถึง 3) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตัวอย่างจากประชาชนที่มี อายุตั้งแต่ 20-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเคยซื้อประกันชีวิต จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วย Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า คนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแรงจูงใจในการซื้อประกันชีวิตในช่วงสถานการณ์โควิด-19  ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการอุปถัมภ์ รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านเหตุผล และด้านอารมณ์  ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีเพศและอาชีพที่แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแตกต่างกัน และยังพบว่าแรงจูงใจด้านเหตุผล ด้านอารมณ์ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการอุปถัมภ์ ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตในช่วงสถานการณ์โควิด-19  ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยตัวแปรทั้ง 4 สามารถอธิบายถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อได้ร้อยละ 72.60 

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกษราพร รักษาสัตย์. (2564). แรงจูงใจและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความภักดีต่อร้านค้าปลีกออนไลน์บนแอปพลิเคชันของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3595/1/621220059.pdf

จิรดา จิตตะสัมพันธ์พร. (2562). การตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. M.B.A. For Modern Managers. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat17/6214060001.pdf

ชิษณุพงศ์ สุกก่ำ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1693/1/59602308.pdf

ณัฐพล ศิริขจรกิจ. (2564). แรงจูงใจและทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mark/Nutthapol_S.pdf

ณัฐรดา ปัญจศุภโชค. (2560). แรงจูงใจและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์รักษาสิวของกลุ่มวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:91222

ณัฐิยา ภัทรกิจจานุรักษ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:140060

ธนพร คำทิพย์, และ รวิดา วิริยกิจจา. (2561). แรงจูงใจและพฤติกรรมในการใช้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน จังหวัดเพชรบูรณ์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธนัท สุขวัฒนาวิทย. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในงานแสดงสินค้าของประชากรในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1223/1/tanut.sukw.pdf

นัฏฐภัค ผลาชิต. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ผ่านช่องทางธนาคารกรุงไทยภายในสำนักงานเขตปทุมธานี [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. https://searchlib.utcc.ac.th/library/onlinethesis/301269.pdf

นิโลบล ตรีเสน่ห์จิต. (2553). แรงจูงใจ และทัศนคติด้านผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อถุงผ้าในเขตกรุงเทพมหานคร [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mark/Nilobol_T.pdf

วนัสพร บุบผาทอง .(2564). การตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภค กรณีศึกษา ผู้ใช้บริการศูนย์บริการโตโยต้า นครปฐมผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3953/1/60602311.pdf

วรฉัตร เรสลี. (ม.ป.ป.). ทำความรู้จัก “โรคฝีดาษลิง” (Monkeypox) แพร่เชื้อ-ติดต่ออย่างไร?. ศิครินทร์. https://www.sikarin.com/doctor-articles/monkeypox

สธ. เผยสถานการณ์ “โรคฝีดาษลิง” ยืนยันไทยยังไม่พบผู้ป่วย ขณะที่ทั่วโลกติดเชื้อแล้ว 990 คน. (2565, 6 มิถุนายน). Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. https://www.hfocus.org/content/2022/06/25253

Eukeik.ee. (2565, 27 มิถุนายน). ตลาดประกันชีวิตเป็นอย่างไร ในวันที่ไทยประกันชีวิตจะเข้า IPO. Marketeer. https://marketeeronline.co/archives/269165

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28