อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านแอปพลิเคชัน SHOPEE ของลูกค้าในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัทรมน ศรีวิภาต คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการการค้าธุรกิจสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • สายพิณ ปั้นทอง สาขาการจัดการการค้าธุรกิจสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, ปัจจัยส่วนบุคคล, การตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า, แอปพลิเคชัน Shopee

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านแอปพลิเคชัน Shopee ของลูกค้าในจังหวัดนนทบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านแอปพลิเคชัน Shopee ของลูกค้าในจังหวัดนนทบุรี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ลูกค้าที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านแอปพลิเคชัน Shopee ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-Test, F-test การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรสังเกตได้ทั้งหมด และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 28-32 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีสถานภาพโสด และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,000-35,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลูกค้าในจังหวัดนนทบุรี ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านสถานภาพ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านแอปพลิเคชัน Shopee ของลูกค้าในจังหวัดนนทบุรี ในส่วนของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านแอปพลิเคชัน Shopee ของลูกค้าในจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัวมีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาคือด้านราคา ด้านการให้บริการส่วนบุคคล และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายตามลำดับ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าอิทธิพลมีประสิทธิภาพคิดเป็นร้อยละ 40.30

References

กองบรรณาธิการศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2564, 10 มกราคม). เปิดข้อมูลการแข่งขัน E-commerce ของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ไตรมาส 3/2021. https://www.tcijthai.com/news/2022/10/scoop/12127

ตลาดบิวตี้ยังแจ๋ว เกาะเทรนด์ธุรกิจทำเงิน. (2561, 21 พฤศจิกายน). ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Beauty-Business_Trend.pdf

ธารารัตน์ พวงสุวรรณ. (2558). Electronic commerce การตลาดออนไลน์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธิคณา ศรีบุญนาค, และ อุมาพร พงษ์สัตยา. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์, 2(3), 88-100. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ibas/article/view/218740/159192

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมครั้งที่ 2). กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิค พริ้นติ้ง.

มารยาท โยทองยศ, และ ปราณี สวัสดิสรรพ์. (2557). การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS (พิมครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รวิภา สู้สกุลสิงห์, และ วราวุธ ฤกษ์วรารักษ์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ใน โครงากรนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 (น. 66-83). https://bec.nu.ac.th/npsc/files/4%2066-83%20-%20A008.pdf

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2563). ตำราหลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 10). ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สลิลภร สืบสาววงษ์, และ ปาลิดา ศรีศรกำพล. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณระดับสูงที่มีส่วนผสมจากสารสกัดธรรมชาติและใช้ตราสินค้าไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 1-9. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/234773/165469

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564, 10 มิถุนายน). E-commerce ไทย ยุคหลัง Covid-19. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Perspective-on-Future-of-e-Commerce.aspx

สุจิตรา อันโน. (2565, 23 ธันวาคม). ผู้หญิงอย่าหยุดสวย ดัน ตลาดเสริมความงามไทยโต 16.6% รับอานิสงส์เปิดประเทศ. https://marketeeronline.co/archives/292227

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2564). หลักการตลาดเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรียทิพย์ ประยูรพัฒน์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผสมสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 161-171. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/248306/168660

อรจิรา แก้วสว่าง, ชาญเดช, และ วราพร ดำรงค์กูลสมบัติ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(2), 308-321. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/247657/167684

อุษณีย์ เส็งพานิช. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(2), 103-117. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/240793/163771

Business plus. (2563, 28 ธันวาคม). ตลาดเครื่องสำอางกับโอกาสทางธุรกิจ. bit.ly/43jmCzo

Marketeer Team. (2564). ลอรีอัลประเทศไทยมั่นใจตลาดความงามกลับมารุ่ง Beauty tech ตัวหนุน. Marketeer. https://marketeeronline.co/archives/266777

Cochran, W. G. (1997). Infinite population: Sampling techniques. John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1984). Cronbach’s Alpha Coefficient: Essential of psychology and education. Mc-Graw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28