ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, แรงจูงใจ, การตัดสินใจซื้อ, เบเกอรี่เพื่อสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในกรุงเทพมหานคร โดยทำการเก็บข้อมูลจากลูกค้าที่ซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยการใช้สถิติ t-Test, F-test การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 28-32 ปี สถานภาพสมรส มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ 20,001-30,000 บาทต่อเดือน ผลการทดสอบทางสถิติพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในกรุงเทพมหานคร ในส่วนของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา มีนัยสำคัญทางสถิติ และในส่วนปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านความปลอดภัย และด้านสังคม มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าอิทธิพลมีประสิทธิภาพคิดเป็นร้อยละ 37.00
References
กชกร ธัชวดีกิตติฤกษ์, ณัฐพันธ์ แก้วสุรพล, และ หรรษมน เพ็งหมาน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับ ผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และอำเภอเมืองสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 12(1), 65-78. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ecbatsu/article/view/238287/164541
กุลณภัชร บุญทวี, และ สายพิณ ปั้นทอง. (2565) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคีโตเจนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(4), 85-100. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/260065/177045
ชนัญญา พรศักดิ์วิวัฒน์. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบอาหารคลีนกลุ่มวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. https://searchlib.utcc.ac.th/library/onlinethesis/301327.pdf
ณภัสภรณ์ ธนะอั้วมีสม. (2563). กระบวนการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและ ปริมณฑล [การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นันทสารี สุขโต และคณะ. (2560). หลักการตลาด. เพียร์ สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
ภูมิแพ้อาหาร. (ม.ป.ป.). สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. http://www.ifrpd-foodallergy.com/index.php/th/
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์. (2565, 19 มกราคม). 5 เทรนด์อาหารกำลังมาแรงปี 2022. ThaiPR.NET. https://www.thaipr.net/business/3145699
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2563). ตำราหลักการตลาด. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. ธรรมสาร.
ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต บารามีซี่. (2564). Future food business trend 2021-22. Baramizi Lab. https://www.baramizi.co.th/trend/future-food-business-trend-2021-22/
สุดารักษ์ อิ่มวงศ์, และ ชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารคลีนเพื่อสุขภาพของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(3), 242-258.
เหมือนจิต จิตสุนทรชัยกุล. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคกับธุรกิจค้าปลีก. ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
อารีรัตน์ พรหมอินทร์. (2564). แผนธุรกิจเบเกอรี่เพื่อสุขภาพ A.P. healthy bakery [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5013
Cochran, W. G. (1997). Infinite population: Sampling techniques. John Wiley & Sons.
Yellow Spoon Pastry (2022, April 11). Healthy bakery in Bangkok. Facebook. https://www.facebook.com/yspastry
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น