ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ดวงฤดี อุทัยหอม คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • อรจันทร์ ศิริโชติ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์, ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน, ส่วนประสมการตลาดบริการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเจตคติ การรับรู้บรรทัดฐาน การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและส่วนประสมการตลาดบริการต่อความตั้งใจท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลแบบออนไซต์และออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการวิจัย พบว่า เจตคติ การรับรู้บรรทัดฐาน และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้วยขนาดอิทธิพลในรูปค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) เท่ากับ .42  (t = 9.84), .30 (t = 6.79), .19 (t = 3.83)  ตามลำดับ และสามารถร่วมกันอธิบายความตั้งใจท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลาได้ ร้อยละ 64

References

กรมการปกครอง, สำนักบริหารการทะเบียน. (2565). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) เดือนกรกฎาคม 2565. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. ผู้แต่ง.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565, 23 มกราคม). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2565. https://www.mots.go.th/news/category/657

จิรดาภา สนิทจันทร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาตลาดน้ำ บางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ [รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า). https://gseda.nida.ac.th/academics/database/students/fileupload/isdocument/20211020104710.pdf

จิราพร คงรอด, วาสนา สุวรรณวิจิตร, นิจกานต์ หนูอุไร, อรศิริ ลีลายุทธชัย, และ อัตถพงศ์ เขียวแกร. (2561). การวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้้าคลองป่าพะยอม – คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง [รายงานผลการวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม]. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ชิดชม กันจุฬา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 13-33. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/254911

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว คุณภาพบริการ ความพึงพอใจ และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยว. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 15(2), 117-130. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SPUCJ/article/view/190089

พิธารัตน์ สุขะนินทร์. (2561). การศึกษาการรับรู้ข้อมูล ทัศนคติ และพฤติกรรม ที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4370

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2558). องค์ความรู้ว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: คู่มือและแนวทางปฏิบัติ. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรจันทร์ ศิริโชติ. (2556). การตลาดบริการ. นำศิลป์.

Ajzen, I. (1985). From intentions to actions: A theory of planned behavior. In J. Kuhl, and J. Beckmann (Eds.), Action control. SSSP Springer Series in Social Psychology. Springer. https://doi.org/10.1007/978-3-642-69746-3_2

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211. https://doi.org/10.1016/0749-5978(91)90020-T

Ajzen, I. (2011). The theory of planned behaviour: Reactions and reflections. Psychology & Health, 26, 1113-1127. http://dx.doi.org/10.1080/08870446.2011.613995

Ajzen, I., Fishbein, M. (1991) The influence of attitudes on behavior. In D. Albarracin, B. T. Johnson, and M. P. Zana (Eds.), The handbook of attitudes (p. 32)

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191. https://doi.org/10.3758/BF03193146

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention and behavior: An introduction to theory and research. Addison-Wesley.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (2011). Predicting and changing behavior: The reasoned action approach. Psychology press. https://doi.org/10.4324/9780203838020

Hodgkinson, C. (1996). Administrative philosophy: Values and motivations in administrative life. Pergamon Press.

Joo, Y., Seok, H., & Nam, Y. (2020). The moderating effect of social media use on sustainable rural tourism: A theory of planned behavior model. Sustainability, 12(10), 4095. http://dx.doi.org/10.3390/su12104095

Kotler, P., Keller, K. L., & Chernev, A. (2022). Marketing management (16th ed.). Pearson.

Voss, D. S. (2004). Multicollinearity. In Kimberly Kempf-Leonard (Ed.), The encyclopedia of social measurement (pp. 759–770). https://doi.org/10.1016/B0-12-369398-5/00428-X

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30