ความสัมพันธ์การรับรู้ความเสี่ยง ความไว้วางใจกับการตัดสินใจซื้อสินค้า พรีออเดอร์ประเภทสินค้าของเล่นลิขสิทธิ์จากญี่ปุ่น ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • พูนภัค เขียวสด สาขาวิชาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
  • สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

คำสำคัญ:

การรับรู้ความเสี่ยง, ความไว้วางใจ, การตัดสินใจซื้อสินค้า, พรีออเดอร์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยง ความไว้วางใจ กับการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์แบบพรีออเดอร์ผ่านช่องทางออนไลน์ช่องทางทวิตเตอร์ (Twitter) ประเภทสินค้าของเล่นลิขสิทธิ์จากญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษาวิจัยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 25 ปี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ความถี่ในการ
พรีออเดอร์ต่อเดือน 1 ครั้ง/ต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายในการซื้อพรีออเดอร์สินค้าต่อครั้ง 501-1,000 บาท โดยใช้ชื่อแฮชแท็กตลาดนัดตามด้วยชื่อเรื่องย่อ และสินค้าที่ซื้อเป็นตุ๊กตา เช่น โนรุ, มินิโมจิ ฯลฯ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ความเสี่ยง ด้านสินค้า ด้านการเงิน และด้านเวลา และความไว้วางใจ ด้านการสื่อสาร ด้านความใส่ใจและการให้ ด้านการให้ข้อผูกมัด ด้านการให้ความสะดวกสบาย ด้านการแก้ไขสถานการณ์ขัดแย้ง มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้าพรีออเดอร์จากญี่ปุ่น ในทิศทางเดียวกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนการรับรู้ความเสี่ยงด้านส่วนตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้าพรีออเดอร์จากญี่ปุ่น

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คัทลียา ฤกษ์พิไชย. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานไฮบริดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, 8(1), 82-97. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/244229/166264

ชุติพนธ์ หวลถนอม, ณัฐชา สลัดแก้ว, และ สุพจน์ จันทร์วิพัฒน์. (2563). การพัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรูปแบบใหม่เพื่อการรับฝากซื้อสินค้าออนไลน์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 16(1), 1-14. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jit_journal/article/view/240189/163726

ณัฐพล ม่วงทำ. (2564). สรุป Digital Stat 2021 จากรายงาน We Are Social เจาะลึกในส่วน Social media. https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/social-media-digital-stat-thai-2021-from-we-are-social/.

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์, และ โชติ บดีรัฐ. (2563). New normal วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-386. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/243943/168107

ทรรศวรรณ หอมละเอียด, และ ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. (2564). อิทธิพลของแฮชแท็กร้านอาหารบนทวิตเตอร์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 7(1), 22-39. http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1645786846.pdf

ธมลวรรณ สมพงศ์. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทางออนไลนของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3609/1/620920042.pdf

ปวีณ์กร สุปินะ. (2560). การตระหนักรับรู้ความเสี่ยงต่อการตั้งใจซื้อของกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ซื้อสินค้าประเภทความเกี่ยวพันสูงบนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902115178_7878_6955.pdf

ปาณิศา ศรีละมัย, และ ศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. (2561). อิทธิพลของความไว้วางใจที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติผ่านร้านค้าปลีก. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(2), 69-78. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/229650/156276

เปขณางค์ ยอดมณี. (2564). ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ต่อธุรกิจ E-commerce กรณีศึกษาของบริษัทขนาดใหญ่ของโลก 4 บริษัท. วารสารสังคมศาสตร์, 10(1), 40-48. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/252530/171345

ไปรยา วงส์ทองดี, และ พีรยุทธ โอรพันธ์. (2564). เส้นทางของผู้บริโภคและการรับรู้ความเสี่ยงในการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) ในกรุงเทพมหานคร. Media and Communication Inquiry, 3(1), 59-69. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/922/671

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2559). พลวัตของการกลายเป็นท้องถิ่นของ “ความเป็นญี่ปุ่น” ในประเทศไทย ตั้งแต่ทศวรรษ 2520. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 32(2), 27-46. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/view/51159/42378

ภูษณ สุวรรณภักดี, และวิลาวัลย์ จันทร์ศรี. (2561). อิทธิพลของความไว้วางใจ ทัศนคติ และส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 10(2), 21-38. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ecbatsu/article/view/154342/120644

วุฒิชัย สุชรจิต, และ ณรงค์ กุลนิเทศ. (2563). การรับรู้ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีกรณีศึกษาโมบายแบงก์กิ้ง. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, 6(1), 33-47. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/213734/164750

ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. (2561). การรับรู้ความเสี่ยงและความไว้วางใจที่ส่งผลต่อการซื้อผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 40(157), 79-99.

ศิวพร ไตรภพ. (2564). ปัจจัยทางด้านการตลาดและพฤติกรรมที่สําคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านช่องทางสังคมออนไลน์ประเภท Twitter ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 101-116. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/article/view/189075/171332

สริตา ชาญเจริญลาภ. (2563). การรับรู้ความเสี่ยงและอิทธิพลส่งผ่านทัศนคติที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการสั่งซื้ออาหารเพื่อสุขภาพออนไลน์ของคนไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2020/TU_2020_6202031271_13062_13364.pdf

สุมามาลย์ ปานคำ, และ พรเทพ พลายเวช. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหนังซื้อบนเว็บไซต์ Thaibookfair ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 977-992. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/257954/176038

หนึ่งชนะ พรหมรัตน์. (2562). อิทธิพลของมังงะและอนิเมะญี่ปุ่นที่มีต่อคอมมิกส์ แอนิเมชัน และภาพยนตร์ตะวันตก [ศิลปนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/15761

Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha: An examination of theory and applications. Journal of Applied Psychology, 78(1), 98-104. https://www.psycholosphere.com/what%20is%20coefficient%20alpha%20by%20Cortina.pdf

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management (14th ed). Prentice Hall.

Peters, M. (2021, March 15). Japan's manga and comic industry hits record profits in 2020. Comicbook. https://comicbook.com/anime/news/japan-manga-anime-industry-profit-2020-success/

Stern, S. (1997). Approximate solutions to stochastic dynamic programs. Econometric Theory, 13(3), 392-405. https://doi.org/10.1017/S0266466600005867

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). Harper and Row.

Zheng, L., Favier, M., Huang, P., & Coat, F. (2012). Chinese consumer perceived risk and risk relievers in e-shopping for clothing. Journal of Electronic Commerce Research, 13(3), 255-274.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28