ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ผู้แต่ง

  • จิรศักดิ์ กิ่งจันทร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • บุญธรรม ราชรักษ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, แบบจำลองโลจิท, การตัดสินใจศึกษาต่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสังกัด กศน. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสังกัด กศน. จำนวน 400 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และแบบจำลองโลจิท ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของผู้เรียน ในสังกัด กศน. ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อาชีพ รายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว และการพึ่งพิงในครอบครัว โดยผู้เรียนที่มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีความน่าจะเป็นในการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีน้อยกว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาชีพอื่น ผู้เรียนที่มีรายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว 10,001–15,000 บาท มีความน่าจะเป็นในการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมากกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้เรียนที่มีรายได้รวมต่อเดือนอื่น และผู้เรียนที่มีผู้พึ่งพิงที่ต้องดูแล มีความน่าจะเป็นในการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีน้อยกว่า เมื่อเทียบกับผู้เรียนที่ไม่มีผู้พึ่งพิงที่ต้องดูแล

References

คู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555). (2555).

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. http://203.159.251.144/pattana/download/g.1/28..pdf

ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560 [รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. https://rmuti.ac.th/news/attach/721d0b0232717ccfa663943b4e4fcf46-20170828-2-1541-7433..pdf

ธัญญ์พิชชา ท้วมทับ. (2563). แนวทางการป้องกันการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยง กรณีศึกษา: วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์]. DSpace at Uttaradit Rajabhat University. http://202.29.52.112/dspace/bitstream/123456789/63/1/62551140118.pdf

ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี [รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. http://libdoc.dpu.ac.th/research/153527.pdf

นราธิจ ศรัณย์ภัทรธร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

นานาทรรศนะจากคนทำงานด่านหน้า ‘อุปสรรค-ปัจจัย’ ต่าง ๆ ที่ทำให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา. (2565, 5 มกราคม). กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. https://www.eef.or.th/article-obstacles-factors-that-cause-children-to-fall-out-of-the-education-system-050122/

พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. (2551, 3 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 41 ก. หน้า 1-11.

ฟาริกา กิมชัยวงศ์. (2557). อัตราการคงอยู่และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. Library and Information Center, NIDA. http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2557/b191068.pdf

มุตตาฝา ล่าเห. (2560). ความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้เรียนในจังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11842/1/TC1483.pdf

วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS [รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. สำนักบริหารพัฒนาวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น. https://registrar.kku.ac.th/policy/download/research/research62_7.pdf

ศศิธร แทนรินทร์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปีการศึกษา 2553 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สถิติการศึกษา. (ม.ป.ป.). สำนักงานสถิติแห่งชาติ. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28