ภาวะผู้นำด้านคุณลักษณะกับการจัดการภาวะวิกฤต โควิด-19 ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ภริตพร แสงตึง สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • เบญจวรรณ เบญจกรณ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การจัดการภาวะวิกฤต โควิด-19, ภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ, ธุรกิจร้านอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะของผู้ประกอบการร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย 2. ศึกษาระดับการจัดการภาวะวิกฤตโควิด-19 ของผู้ประกอบการร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย และ 3. ศึกษาภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะและการจัดการภาวะวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลต่อผลการดําเนินงานของธุรกิจร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้จัดการร้านอาหาร จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะมีความเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ลักษณะที่เกี่ยวกับงาน สติปัญญาความสามารถ ลักษณะทางสังคม และบุคลิกภาพ ตามลำดับและการจัดการภาวะวิกฤตโควิด-19 ของผู้ประกอบการ มีความเห็นระดับมาก ได้แก่ การเตรียมความพร้อม การป้องกัน การตอบสนอง การปรับปรุงแก้ไข ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ ได้แก่ สติปัญญาความสามารถ และลักษณะที่เกี่ยวกับงาน และปัจจัยการจัดการภาวะวิกฤตโควิด-19 ได้แก่ การป้องกัน การเตรียมความพร้อม มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2553). บริษัทเล็ก VS บริษัทใหญ่ เลือกอย่างไรดี. https://bitly.ws/3f5Wc

ชิสา เจิมวรายุกร, พิศาล แก้วอยู่, พิศมัย จัตุรัตน์, และ นิตยา หาสุข. (2565). ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ต่อการประกอบธุรกิจร้านอาหารย่านเยาวราชกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 18(1), 112-126. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/255621

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

ธุรกิจร้านอาหาร 4 แสนล้านอ่วม ปิดตัว 5 หมื่นรายเซ่นพิษโควิด. (2563, 13 กรกฎาคม). ประชาชาติธุรกิจ. https://www.prachachat.net/economy/news-490041

นภดล ร่มโพธิ์ และ มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2552). เครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กร. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นุชนาถ ทับครุฑ, ศุกพิชญาณ์ บุญเกื้อ, และ อรอนงค์ อำภา. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรังโดยใช้แนวคิดในการบริหารจัดการ Balanced scorecard. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 12(1), 1-12. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/221014

ปรีดิ์เปรม ชัยกิจ และ ธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2561). การจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์ของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 11(1), 121-140. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jprad/article/view/132611

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. ธิง บียอนด์ บุ๊คส์.

ภิญญาพัชญ์ มุณีแก้ว, กรกช มนตรีสุขศิริกุล, นราธิป วัฒนภาพ, และ ธชธร อิทธิโอภากร. (2563). การใช้หลักการของการวัดผลการดำเนินงานแบบสมดุลในการประเมินความสำเร็จของการส่งเสริมการท่องเที่ยว. วารสารดุสิตธานี, 14(3), 735-751. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/245642

วัณณิตา บุญกอง และ ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2564). ภาวะผู้นำในภาวะวิกฤต และการจัดการปัญหาในมุมมองของเยาวชน ช่วงระยะเวลาเผชิญภัยพิบัติโควิด-19 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิภัคฉณัฏฐ์ นิมิตรพันธ์ และ ศิริจันทรา พลกนิษฐ. (2560). การจัดการภาวะวิกฤต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 7(1), 45-51. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/77021

ศิริพงศ์ รักใหม่, เยาวภรณ์ เลิศกุลทานนท์, กาญจนา แฮนนอน, และ กรกช มนตรีสุขศิริกุล. (2560). การจัดการภาวะวิกฤตในธุรกิจโรงแรม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 345-354. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/135695

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ความท้าทาย...หลังวิกฤติโควิด ผลักดันธุรกิจร้านอาหารสู่ New normal. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/RestaurantFB-1505.aspx

สมบูรณ์ สารพัด, ณัฐณิชา สุขฤทธิ์, ณัฐธิยา แก่นทรัพย์เกริก, นวพร สุทธิประภา, นวอร ฉาไธสง, ปิยราช บางศิริ, สฤกพรรณ สว่างเดือน, และ สุดารัตน์ แก้วเพ็ชรพลาย. (2562). หลักการและทฤษฎีการวัดผลการดำเนินงานขององค์กรโดยใช้ Balanced scorecard และการนำไปประยุกต์ใช้. สยามวิชาการ, 20(1), 35-48. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/sujba/article/view/861

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสายสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ [ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. https://opac.msu.ac.th/bibitem?bibid=b00169877

อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. (2552). กลยุทธ์การบริหารภาวะวิกฤตสำหรับผู้นำองค์กร. วารสารบริหารธุรกิจ, 32(122), 8–18. http://www.jba.tbs.tu.ac.th/index.php?page=Article-List&sub=1&txt=203

ออมสินงัดแผนช่วยลูกค้ารับผลกระทบไวรัสโควิด-19 ฉุดนักท่องเที่ยวจีนหด-รายได้วูบ. (2563, 18 กุมภาพันธ์). สยามรัฐ. https://siamrath.co.th/n/133504

Abdillah, F., & Diana, I. B. P. W. (2018). Balanced scorecard implementation in restaurant management. E-Journal of Tourism, 5(1), 30–39. https://doi.org/10.24922/eot.v5i1.38458

Alkasasbeh, F. (2020). The effects of COVID-19 on restaurant industry: A perspective article. Journal of Innovations in Digital Marketing, 1, 20–27. http://dx.doi.org/10.51300/jidm-2020-16

Coombs, T. (2007). Protecting organization reputations during a crisis: The development and application of situational crisis communication theory. Corporate Reputation Review, 10(3), 163-177. http://dx.doi.org/10.1057/palgrave.crr.1550049

Coombs, T. (2015). CSR as crisis risk: Expanding how we conceptualize the relationship. Corporate Communications an International Journal, 20, 144–162. http://dx.doi.org/10.1108/ccij-10-2013-0078

Fatima, T., & Elbanna, S. (2020). Balanced scorecard in the hospitality and tourism industry: Past, present and future. International Journal of Hospitality Management, 91, Article 102656. http://dx.doi.org/10.1016/j.ijhm.2020.102656

Ivancevich, J. M., Konopaske, R., & Matteson, M. T. (2013). Organizational behavior and management (10th ed.). McGraw-Hill Education.

Jia, S. (2021). Analyzing restaurant customers’ evolution of dining patterns and satisfaction during COVID-19 for sustainable business insights. Sustainability, 13(9), 4981. http://dx.doi.org/10.3390/su13094981

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1992). The balanced scorecard—measures that drive performance. Harvard Business Review. https://hbr.org/1992/01/the-balanced-scorecard-measures-that-drive-performance-2

Lai, H. B. J., Abidin, M. R. Z., Hasni, M. Z., Karim, M. S. A., & Ishak, F. A. C. (2020). Key adaptations of SME restaurants in Malaysia amidst the COVID-19 Pandemic. International Journal of Research in Business and Social Science (2147- 4478), 9(6), 12-23. http://dx.doi.org/10.20525/ijrbs.v9i6.916

Mills, J. (2020, June 12). Restaurants must adapt key performance indicators during COVID-19. QSR Magazine. https://www.qsrmagazine.com/operations/business-advice/restaurants-must-adapt-key-performance-indicators-during-covid-19/

Norris, C. L., Taylor, J. S., & Taylor, D. C. (2021). Pivot! how the restaurant industry adapted during COVID-19 restrictions. International Hospitality Review, 35(2), 132–155. http://dx.doi.org/10.1108/ihr-09-2020-0052

Ou, J., Wong, I. A., & Huang, G. I. (2021). The coevolutionary process of restaurant CSR in the time of mega disruption. International Journal of Hospitality Management, 92, Article 102684. http://dx.doi.org/10.1016/j.ijhm.2020.102684

Song, H. J., Yeon, J., & Lee, S. (2021). Impact of the COVID-19 pandemic: Evidence from the U.S. restaurant industry. International Journal of Hospitality Management, 92, Article 102702. http://dx.doi.org/10.1016/j.ijhm.2020.102702

Stogdill, R. M. (1981). Stogdill’s handbook of leadership: A survey of theory and research, revised and expanded (2nd ed.). Free Press.

Sun, W. (2013). The impact of the balanced scorecard on managerial decision making [Mini Dissertation, University of Pretoria]. UPSpace Institutional Repository. https://repository.up.ac.za/handle/2263/36763

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31