การวางแผนการสั่งซื้อด้วยเทคนิคการพยากรณ์ เพื่อลดปัญหาสินค้าขาดมือ กรณีศึกษา สินค้ากลุ่มที่นอนและเครื่องนอน บริษัท เอบีซี จำกัด

ผู้แต่ง

  • มยุรี แจ่มฟ้า วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • คุณากร วิวัฒนากรวงศ์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การพยากรณ์ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก, การพยากรณ์ปรับเรียบเอกซ์โปเนนเชียล, การพยากรณ์ปรับเรียบแบบเอกซ์โปเนนเชียลซ้ำสองครั้ง, ลดปัญหาสินค้าขาดมือ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์ยอดขายสินค้ากลุ่มที่นอนและเครื่องนอน เนื่องจากภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง การแข่งขันในธุรกิจมีการแข่งขันสูงขึ้น ผู้ค้าปลีกต้องบริหารจัดการกลยุทธ์ด้านราคา รวมถึงการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาการวางแผนการพยากรณ์สินค้ากลุ่มที่นอนและเครื่องนอนที่ของบริษัท และเทคนิควิธีพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อ โดยศึกษาสินค้าที่มียอดขายสูง และพบปัญหาสินค้าขาดมือระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ของบริษัทจำนวน 5 รายการ ได้แก่ แผ่นรองนอนขนาด 3” แผ่นรองนอนขนาด 3.5” หมอนหนุน หมอนข้าง และชุดผ้าปู เลือกศึกษาเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ 3 วิธี ได้แก่ วิธีการพยากรณ์ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก วิธีการพยากรณ์ปรับเรียบเอกซ์โปเนนเชียล และวิธีพยากรณ์ปรับเรียบแบบเอกซ์โปเนนเชียลซ้ำสองครั้ง และหาค่าเฉลี่ยของร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ในแต่ละวิธี เพื่อหาเทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมและแม่นยำของสินค้าแต่ละรายการ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel และ โปรแกรม Minitab ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา ปัจจุบันบริษัทใช้การพยากรณ์แบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก จากการเปรียบเทียบการพยากรณ์กับวิธีอื่น พบว่า สินค้า 4 รายการใช้เทคนิคการพยากรณ์ปรับเรียบเอกซ์โปเนนเชียลมีค่าเฉลี่ยของร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์น้อยที่สุด ได้แก่ แผ่นรองนอนขนาด 3” แผ่นรองนอนขนาด 3.5” หมอนหนุน และหมอนข้าง สินค้าทั้ง 4 รายการ จึงควรปรับมาใช้เทคนิคการพยากรณ์ปรับเรียบเอกซ์โปเนนเชียล สำหรับสินค้าชุดผ้าปูใช้เทคนิคการพยากรณ์ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก ค่าเฉลี่ยของร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์น้อยที่สุด

References

คงกฤช ปิ่นทอง. (2554). การพยากรณ์การผลิตชิ้นส่วนยางในรถยนต์ กรณีศึกษา บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1139

คุณากร วิวัฒนากรวงศ์ และ รชฏ ขำบุญ. (2560). การประยุกต์ใช้เว็บแอปพลิเคชันสำหรับการเติมเต็มสินค้าอาหารแห้งกรณีศึกษา คลังสินค้า บริษัท เซ็นทรัลเรสเตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 6(1), 16-30. https://bitly.ws/B4Er

คุณากร วิวัฒนากรวงศ์, วริศ ลิ้มลาวัลย์, สุภาพร บุตรใส, ณัฐลดา นิลพันธุ์, ชคัตบดี วรรณางกูร, อริษรา เทพแก้ว, กมลวรรณ งามดี, และ พงศธร พลอยธรรมคุณ. (2566). การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม กรณีศึกษาเกมแบบจำลองทางธุรกิจ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 37(1), 17-32. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/259940

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันท์ และคณะ. (2545). การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ. ธรรกมลการพิมพ์.

ธนกฤษ ผัดเป้า. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ของร้านผ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. Chiang Mai University Library. https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2561/inma10661phat_full.pdf

ธัญยธรณ์ อ้นมี. (2560). การพยากรณ์และการวางแผนสร้างสต็อคสินค้า เพื่อลดปัญหาการส่งมอบสินค้าล่าช้า กรณีศึกษา โรงงานผลิตเลนส์แว่นตา [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5810037084_7844_7201.pdf

นิพนธ์ โตอินทร์. (2556). การพยากรณ์ความต้องการและการวางแผนสินค้าคงคลังสำหรับสินค้าเครื่องดื่ม กรณีศึกษา แผนกควบคุมเครื่องดื่มในโรงแรม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/150592.pdf

ปิยานันท์ ทองโพธิ์. (2558). การประยุกต์เทคนิคการพยากรณ์ความต้องการสินค้า เพื่อวางแผนการผลิต กรณีศีกษาโรงงานผลิตชุดชั้นใน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3155

ภัทรา วิวัฒนศร. (2565). การพยากรณ์ความต้องการและการวางแผนการสั่งซื้อเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตกรณีศึกษา บริษัท ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ [งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. Burapha University Library. http://ir.buu.ac.th/dspace/bitstream/1513/533/1/63920440.pdf

อภิชัย พรมอ่อน. (2561). การศึกษาการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา (Time Series) เพื่อการวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ บริษัท ผลิตชิ้นส่วนท่อยางรถยนต์ [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น]. TNI Library. http://library.tni.ac.th/thesis/upload/files/MIM%202018/Apichai%20Prom-aon%20IS%20MIM%202018.pdf

ไฮเซอร์, เจย์. (2551). Operation management [การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ]. เพียร์สัน เอ็ดดูคั่น อินโดไชน่า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30