ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจการเลือกซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อในเขตบางใหญ่
คำสำคัญ:
Decision, Consumer Choices, Convenience Stores, Bangyai District, Nonthaburiบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการตัดสินใจเข้ามาใช้บริการในร้านสะดวกซื้อในเขตบางใหญ่ นนทบุรี 2. เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการของร้านสะดวกซื้อในเขตบางใหญ่ นนทบุรี และ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจการเลือกซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อในเขตบางใหญ่ นนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในเขตพื้นที่บางใหญ่และเป็นผู้ใช้บริการร้านสะดวกซื้อในเขตบางใหญ่ นนทบุรี จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ และการตัดสินใจการเลือกซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อในเขตบางใหญ่ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. ผู้ใช้บริการร้านสะดวกซื้อในเขตบางใหญ่ที่มีอายุ รายได้ และสถานภาพต่างกันมีการตัดสินใจการเลือกซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อในเขตบางใหญ่ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และปัจจัยคุณภาพการบริการ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านการให้ความความมั่นใจแก่ลูกค้า ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และด้านความน่าเชื่อถือ มีผลต่อการตัดสินใจการเลือกซื้อสินค้าต่อร้านสะดวกซื้อในเขตบางใหญ่
References
กษมา อ่อนลมูล. (2563). การจำลองรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงของประชาชนในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:185881
จริญญา ยังประภากร. (2565, 16 มิถุนายน). ซีบีอาร์อีเผยเทรนด์ร้านสะดวกซื้อปรับตัวรับไลฟ์สไตล์ใหม่. CBRE. https://www.cbre.co.th/th-th/press-releases/competition-on-convenience
จุฑารัตน์ สายโรจน์พันธ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซุปเปอร์มาร์เก็ตของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2226
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2561). กลยุทธ์การบริหารสำหรับองค์การยุคใหม่. เอ็กชเปอร์เน็ท.
นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2565, 17 เมษายน). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2566-2568: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/wholesale-retail/modern-trade/io/modern-trade-2022
ปาริฉัตร ประเสริฐ. (2564). ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการและปัจจัยด้านพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน Xiaomi ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3996
ปุญญาพร บุญธรรมมา. (2563). คุณภาพการบริการและพฤติกรรมการเข้าพักที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการโรงแรมขนาดกลางใน อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2563/3/62062389.pdf
มะลิวัลย์ แสงสวัสดิ์. (2558). ปัจจัยความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการและความภักดีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการห้างสรรพสินค้า กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1179
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, จิรศักดิ์ จิยะจันทน์, ชวลิต ประภวานนท์, ณดา จันทร์สม, และ วลัยลักษณ์
อัตธีรวงศ์. (2541). การวิจัยธุรกิจ. เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.
สุจิตรา แสงจันดา และ กัญสพัฒน์ นับถือตรง. (2565). คุณภาพการบริการของพนักงานร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในจังหวัดนครพนม. วารสารปัญญาปณิธาน, 7(2), 27-40. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/262323
สุปวีณ์ บุญสมภาร. (2561). คุณภาพการให้บริการของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, โครงการพิเศษของ MMM มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. M.B.A. For Modern Managers. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-2/6114993300.pdf
หวง ลู่หญิง. (2560). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ และการสื่อสารแบบปากต่อปากที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการห้างสรรพสินค้าพรีเมี่ยมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2658
อรรถชัย วรจรัสรังสี. (2556). ประเภทเนื้อหาการตลาดบนเฟซบุ๊กแฟนเพจสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43212
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50. https://doi.org/10.1177/002224298504900403
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น